ทางเลือกสุดท้ายที่ต้องไม่เลือก

คำแนะนำขององค์การอนามัยโลก (WHO) เกี่ยวกับอาหารที่ดีที่สุดและเหมาะสมที่สุดสำหรับทารกเรียงตามลำดับดังนี้
1.ให้ทารกดูดนมแม่ของตนจากอก
2.ให้ทารกดื่มนมแม่ของตนที่บีบหรือปั๊มออกมาด้วยวิธีอื่น (ใช้ขวดหรือป้อนด้วยช้อนหรือถ้วย)
3ให้ทารกดื่มนมจากแม่คนอื่น (ในต่างประเทศ มีการบริจาคน้ำนม เป็นธนาคารน้ำนมหรือ Milk Bank)
4.ให้ทารกดื่มนมผสม
สามทางเลือกแรกที่องค์การอนามัยโลกแนะนำไว้ แสดงให้เห็นชัดเจนว่า น้ำนมคน คือ อาหารที่เหมาะสมที่สุดสำหรับลูกคน นมผสมเป็นเพียง ทางเลือกสุดท้าย เท่านั้นเอง สัตว์เลี้ยงลูกด้วยนมแต่ละชนิดผลิตน้ำนมที่มีสารอาหารและแร่ธาตุแตกต่างกัน เพื่อตอบสนองความต้องการของลูกอย่างเหมาะสม การให้ทารกกินนมผสมที่ทำจากน้ำนมของสัตว์อื่นหรือวัตถุดิบชนิดอื่น เป็นการให้อาหารที่ผิดจากความต้องการตามธรรมชาติของมนุษย์โดยสิ้นเชิง

นมแม่มีคุณค่านานแค่ไหน

นมแม่เป็นอาหารที่ให้คุณค่าแก่ทารกตลอดเวลาไม่ว่าจะนานแค่ไหน
ตั้งแต่แรกคลอดถึง 6 เดือน นมแม่เป็นอาหารเพียงอย่างเดียวที่ทารกต้องการ
ในช่วงอายุ 6-12 เดือน ทารกควรได้รับนมแม่ร่วมกับอาหารเสริมสำหรับทารก เพื่อให้ทารก เพื่อให้ทารกได้เรียนรู้วิธีรับประทานอาหารอื่น โดยอาหารเสริมนั้น มีหน้าที่เพียง “ส่งเสริม” นมแม่ ไม่ใช่อาหารหลักหรือทดแทนนมแม่

เมื่ออายุครบขวบ ทารกจะมีฟันและสามารถรับประทานอาหารปกติได้แล้ว น้ำนมแม่จะมีปริมาณลดลงตามธรรมชาติ แต่สารอาหารและภูมิคุ้มกันไม่ได้ลดลงตามปริมาณ ภูมิคุ้มกันบางชนิด กลับยิ่งมีมากขึ้นอีกด้วยในช่วง 1-2 ปีหลัง
ตราบใดที่ทารกยังคงได้กินนมแม่ร่วมกับอาหารปกติหลากหลายชนิดในปริมาณที่มากกว่าปริมาณต่ำสุดที่ร่างกายควรได้รับ การเสริมด้วยนมวัวหรือนมผสมก็ไม่ใช่สิ่งจำเป็นสำหรับทารก
-------
องค์การอนามัยโลกและยูนิเซฟ แนะนำให้เลี้ยงทารกด้วยนมแม่ เพียงอย่างเดียวเป็นระยะเวลา 6 เดือน หลังจากนั้นให้นมแม่ควบคู่กับอาหารเสริมไปจนทารกอายุ 2 ปี หรือมากกว่า เพื่อเป็นการช่วยเหลือให้แม่สามารถเลี้ยงลูกด้วยนมแม่ได้ตามคำแนะนำ ควรมีข้อปฎิบัติดังนี้
-ให้ทารกดูดนมแม่ภายในหนึ่งชั่วโมงแรกหลังคลอด
-ให้ทารกกินนมแม่เพียงอย่างเดียวเป็นเวลา 6 เดือน โดยไม่จำเป็นต้องให้อาหารอื่น แม้แต่น้ำ
-ให้ทารกดูดนมแม่บ่อยเท่าที่ทารกต้องการโดยไม่จำกัดเวลาไม่ว่ากลางวันหรือกลางคืน
-ไม่ใช้ขวดนม จุกนม หรือจุหลอก

อาหารของวัวดีกว่าอาหารของแม่หรือเปล่า

แม่ที่ให้นมลูกจำนวนไม่น้อยเป็นกังวลว่า ตนเองจะกินอาหารที่มีประโยชน์ไม่เพียงพอ หรือเมื่อจำเป็นต้องกินยาเพื่อรักษาอาการเจ็บป่วย
ยานั้นจะส่งผ่านไปทางน้ำนมที่ให้ลูกกินหรือไม่ แต่แทบไม่มีพ่อแม่คนใดเป็นกังวลเลยว่า นมวัวที่เป็นวัตถุดิบหลักในการผลิตนมผสมของ
ทารกนั้น จะมาจากแม่วัวที่กินอาหารอะไร เป็นโรคอะไร และได้รับยาอันตรายอะไรมาบ้าง

แม่วัวในปัจจุบันจะถูกคัดเลือกสายพันธุ์ ฉีดกระตุ้นด้วยสารเร่งการเจริญเติบโตและฮอร์โมนต่าง ๆ เพื่อให้สามารถผลิตน้ำนมได้มากกว่า
ปกติถึง 10 เท่า วัวเหล่านีจะถูกเลี้ยงรวมกันในคอกอย่างแออัด เพื่อความสะดวกในการดูแลและรีดนมเช้า-เย็น อาหารของวัว คือ อาหาร
เม็ดสังเคราะห์ หรือหญ้าที่ปลูกด้วยการใส่ปุ๋ยวิทยาศาสตร์ และอาจปนเปื้อนด้วยสารเคมีหรือยาฆ่าแมลง เมื่อวัวเป็นโรค ก็จะได้รับยา
ปฏิชีวนะหรือยาอื่น ๆ ทั้งกินและฉีดในปริมาณที่สูงมาก เพราะเป็นสัตว์ขนาดใหญ่ "แล้วเหตุใดแม่จึงไว้ใจคุณภาพของนมวัว มากกว่านม
ตัวเอง"
------------------------------
ปกติลูกวัวแรกคลอดต้องการน้ำนมประมาณ 3-10 ลิตรต่อวันแต่แม่วัวในปัจจุบันถูกกระตุ้นด้วยสารเร่งการเจริญเติบโตและฮอร์โมนต่าง ๆ เพื่อให้สามารถผลิตน้ำนมได้มากถึง 30-70 ลิตรต่อวัน  ดังนั้นลูกวัวในปัจจุบันจึงต้องถูกแยกจากแม่วัวทันทีหลังจากคลอด เพราะถ้าปล่อยให้ลูกวัวอยู่กับแม่วัวและกินนมทั้งหมดที่แม่วัวผลิตได้ ( 30-70 ลิตร) ลูกวัวอาจจะตายเพราะไม่สามารถบริโภคน้ำนมมากขนาดนั้นได้ แต่ถ้าลูกวัวกินนมเพียงเท่าที่มันต้องการ( 3-10 ลิตร) เต้านมของแมวัวก็จะคัดมากจนเกิดการอักเสบ และอาจต้องตายเช่นกัน

แม่ต้องกินอะไร น้ำนมจึงจะดีพอสำหรับลูก

สังคมบริโภคนิยมทำให้เกิดความเชื่อว่า ของคุณภาพดีราคาถูกไม่มีอยู่จริง พ่อแม่จำนวนมากยอมจ่ายเงินซื้อนมผสมราคาแพงเพราะเชื่อว่าราคาที่แพงกว่าหมายถึงคุณภาพที่ดีกว่า นั่นหมายถึงความว่าผู้ที่มีฐานะการเงินดีกว่าก็จะสามารถสรรหาสิ่งที่มีคุณภาพดีกว่าให้ลูกของตน แต่น้ำนมแมเป็นความเท่าเทียมเพียงอย่างเดียวที่ธรรมชาติม่ให้กับทารกทุกคนโดยไม่เลือกสถานะ เพราะร่างกายของแม่ทุกคนสามารถผลิตน้ำนมที่มีคุณภาพดีเท่าเทียมกัน ร่างกายของแม่จะมีการเปลี่ยนแปลงโดยอัตโนมัติเพื่อการสร้างน้ำนมสำหรับบำรุงและเลี้ยงดูทารก เริ่มจากการสะสมไขมันไว้ในร่างกายมากขึ้นในระหว่างตั้งครรภ์ เพื่อสำรองไว้ใช้เป็นแหล่งพลังงานสำหรับการผลิตน้ำนมหลังคลอด ช่วงให้นมลูก การเผาผลาญอาหารของแม่จะมีประสิทธิภาพสูงกว่าปกติเป็นการช่วยรักษาพลังงานเอาไว้ ทำให้ร่างกายสามารถผลิตน้ำนมที่มีคุณภาพดีและมีปริมาณเพียงพอต่อความต้องการของทารก โดยไม่จำเป็นต้องได้รับสารอาหารมากกว่าปกติมากนัก

ผู้แม่อาจกังวลว่าน้ำนมของตนจะมีคุณค่าทางอาหารพอสำหรับลูกน้อยหรือไม่ รวมทั้งกังวลว่าการรบประทานอาหารหรือโภชนาการของตนเองจะมีผลต่อคุณภาพของน้ำนมหรือไม่ สิ่งเหล่านี้ไม่ใช่เรื่องที่ต้องกังวลเลย เพราะร่างกายสามารถดึงสารอาหารที่แม่รับประทานไปผลิตน้ำนมได้อย่างมีประสิทธิภาพ แม่ที่รับประทานอาหารหลากหลายตามธรรมชาติในประมาณที่เหมาะสม ถึงแม่จะไม่ใช่อาหารราคาแพง ก็สามารถผลิตน้ำนมที่มีคุณค่าที่สุดสำหรับทารกอยู่เสมอ และถ้าแม่ไม่ได้เป็นโรคขาดสารอาหารอย่างรุนแรงเป็นระยะเวลานาน ก็มั่นใจได้เลยว่าน้ำนมแม่จะมีคุณภาพดีและมีคุณค่าที่สุดสำหรับลูกน้อย

ทำไม นมแม่ตัวเล็ก นมวัวตัวโต

วัวเป็นสัตว์ 4 เท้า ต้องใช้กำลังร่างกายในการมีชีวิตรอด ลูกมันจึงยืนได้ทันทีที่คลอด สมองไม่ใช่อวัยวะที่จำเป็นสำหรับลูกวัว มนุษย์
เป็นสัตว์ 2 เท้าที่ใช้สมองในการดำรงชีวิตมากกว่าใช้กำลังร่างกาย พัฒนาการของทารกเริ่มต้นจากการสัมผัส, ได้ยิน,มองเห็น, จดจำ
ไปพร้อม ๆ กับการเคลื่อนไหวกล้ามเนื้อ ต้องใช้เวลาเกือบ 1 ปีกว่าจะสามารถยืนและเดินได้ น้ำนมคนมีไขมันมาก และเป็นกรดไขมัน
ชนิดพิเศษ ที่ไม่มีในนมของสัตว์อื่น เพื่อพัฒนาสมอง และสมองของมนุษย์ จะเจริญเติบโตเร็วมากภายใน 1-2 ปีแรกของชีวิต

เมื่อเปรียบเทียบกับทารกที่กินนมผสม ทารกที่กินนมแม่จะโตช้ากว่าและมีไขมันน้อยกว่า แต่ความจริงแล้ว เป็นการเติบโตที่ปกติ เหมาะสม
และมีสุขภาพแข็งแรงสมบูรณ์ดี การที่ทารกโตเร็วหรือมีน้ำหนักมากเกินไป ไม่เป็นผลดีกับสุขภาพของทารกในระยะยาว ทารกเหล่านี้
มีแนวโน้มที่จะโตขึ้นเป็นคนอ้วน มีความเสี่ยงของการเป็นโรคความดันสูง เบาหวาน โรคหัวใจ ในที่สุด//หัวใจ
ทารกมีเวลาเพียงแค่ 2-3 ปีที่จะสร้างภูมิคุ้มกันและพัฒนาสมองให้เต็มที่ด้วยการกินนมแม่ และมีเวลาอีกเกือบ 20 ปีที่จะพัฒนาร่างกาย
ให้เจริญเติบโตด้วยอาหารอื่น ๆ อีกมามาย การให้ทารกกินนมผสมเพื่อพัฒนาร่างกายให้โตเร็วใน 2-3 ปีแรก แล้วพลาดช่วงเวลาสำคัญ
ที่จะเสริมสร้างภูมิคุ้มกันและพัฒนาสมองด้วยนมแม่ เป็นสิ่งที่ถูกต้องหรือไม่

สะกดจิตด้วยคำโฆษณา

ให้ใช้ผลิตภัณฑ์นี้ เมื่อนมแม่ไม่พอ ข้อความนี้เป็นคำสะกดจิตของผู้ผลิตนมผสมทุกยี่ห้อ เป็นข้อความง่าย ๆ ในสื่อโฆษณาที่ใช้ได้ผลมาเป็นเวลานาน ทุกวันนี้พ่อแม่ส่วนใหญ่หลงเชื่อไปแล้วว่า การที่นมแม่ไม่พอนั้นเป็นเรื่องปกติ โดยไม่ทันได้ตระหนักเลยว่า มนุษย์ดำรงเผ่าพันธุ์กันมาได้อย่างไรตั้แต่ยุคดึกดำบรรพ์ โดยปราศจากนมผสม

กลยุทธ์ทางการตลาดของนมผสมสร้างภาพให้คนทั่วไปเข้าใจผิดว่า ทารกจะต้องกินนมวันละเท่านั้นเท่านี้ครั้ง ครั้งละเท่านั้นเท่านี้ออนซ์ เมื่อแม่มือใหม่อ่านคู่มือการเลี้ยงลูกที่เขียนตามสูตรของนมผสม ก็จะหลงเข้าใจผิดโดยง่ายว่าตัวเองมีน้ำนมไม่พอ และต้องเสริมด้วยนมผสม
เมื่อเริ่มเสริมด้วยนมผสม กลไกการผลิตน้ำนมของร่างกายแม่จะไม่ได้รับการกระตุ้นมากพอ เป็นการส่งสัญญาณให้ร่างกายรับรู้ว่าไม่มีความต้องการ ร่างกายจะผลิตน้ำนนมน้อยลง ยิ่งแม่เพิ่มนมผสมให้ทารกมากขึ้น ในที่สุดน้ำนมแม่ก็จะแห้งหายไปภายในเวลาไม่นาน
นอกจากนี้เรายังใช้ข้อมูลผิด ๆ เกี่ยวกับการเจริญเติบโตของทารก เช่น กราฟแสดงส่วนสูงและน้ำหนักที่ใช้มาตรฐานของทารกที่กินนมผสม มาเป็นเกณฑ์ในการวัดทารกที่กินนมแม่ ปกติทารกที่กินนมแม่จะโตช้ากว่าและมีไขมันน้อยกว่าทารกที่กินนมผสม เป็นการเติบโตที่เหมาะสมและมีสุขภาพดี แต่กลับถูกตัดสินว่าโตช้าเกินไป ทำให้มีคำแนะนำผิด ๆ ว่าทารกต้องได้นมผสมเพิ่ม เพื่อให้โตเร็วขึ้น อ้วนขึ้น ทารกเหล่านี้จะโตขึ้นมาเป็นเด็กอ้วน และกลายเป็นผู้ใหญ่อ้วนซึ่งมีความเสี่ยงของการเป็นโรคความดันสูง เบาหวาน และหัวใจ ในที่สุด
ถ้ามนุษย์เชื่อมั่นในกฎของธรรมชาติ ไม่หลงตามกลยุทธ์ของผู้ผลิตนมผสม แม่ทุกคนก็จะมีน้ำนมพอสำหรับลูกของตนแน่นอน

น้ำนมแม่น้อย แต่พอเพียง

ทันทีที่ออกมาจากท้องแม่ ทารกต้องเผชิญกับการเปลี่ยนแปลงขนานใหญ่ จากที่เคยได้รับทุกอย่างจากแม่ผ่านสายสะดือ ทารกจะต้องหายใจทางจมูก กินอาหารทางปาก ระบบย่อยอาหารเริ่มทำงานเอง น้ำนมแม่ในวันแรก ๆ จึงมีปริมาณน้อยมาก แต่เป็นน้ำนมที่อุดมไปด้วยคุณค่าทางอาหารอย่างมหาศาลที่เราเรียกว่า น้ำนมเหลือง หรือ โคลอสตรัม นั่นเอง

การดูดกระตุ้นบ่อย ๆ ทำให้น้ำนมเริ่มมีปริมาณมากขึ้น ทีละน้อย สัมพันธ์กับระบบย่อยอาหารของทารกที่ค่อย ๆ เริ่มทำงาน น้ำนมแม่สามารถย่อยได้ง่าย ย่อยเร็ว สารอาหารในนมแม่จะถูกดูดซึมไปใช้ได้ทั้งหมด
แม่ทุกวันนี้ไม่รู้ว่าการที่น้ำนมแม่ในวันแรก ๆ มีปริมาณน้อย ๆ เพียงแค่ซึมเป็นหยด ๆ นั้นเป็นสิ่งปกติ เพราะกระเพาะของทารกแรกคลอดนั้นมีความจุเพียง 5-7 ซีซี หรือขนาดเท่าลูกแก้วเล็ก ๆ เท่านั้น ทารกไม่จำเป็นต้องกินน้ำนมมาก ๆ ในวันแรก ๆ เพราะมีสารอาหารที่สะสมมาจากในท้องแม่มากพอที่จะอยู่ได้สองถึงสามวันโดยไม่ต้องกินอะไรเลย
ธรรมชาติสร้างให้นมแม่มีปริมาณน้อยในวันแรก ๆ ก็เพื่อให้ทารกจำเป็นต้องดูดบ่อย ๆ ให้กระเพาะเล็ก ๆ ที่ไม่เคยทำงานมาก่อน ได้รับการฝึกทีละน้อย ๆ ระบบการย่อยและระบบการขับถ่ายก็จะค่อย ๆ หัดทำงานไปพร้อม ๆ กัน นอกจากนั้นการที่แม่ได้โอบกอดลูกบ่อย ๆ ในขณะที่ให้ดูดนมยังเป็นการช่วยให้ทารกปรับตัวเข้ากับโลกใหม่ที่แตกต่างจากโลกภายในท้องแม่อีกด้วย
ภาพแม่วัวที่ถูกรีดนมพุ่งเป็นสายใส่ถังใบใหญ่ เป็นภาพที่คนในปัจจุบันเห็นบ่อยกว่าภาพของแม่ที่ให้ลูกดูดนมจากเต้า
เมื่อแม่มือใหม่เห็นว่านมของตนเองนั้นเห็นแค่ซึมเป็นหยด ๆ บีบเท่าไรก็ไม่ออก ทำให้แม่มือใหม่เข้าใจว่าตนเองไม่มีน้ำนม เมื่อลูกร้องไห้เป็นอย่างมากเพราะไม่คุ้นเคยกับสภาพแวดล้อมที่แตกต่างจากในท้องแม่โดยสิ้นเชิง กลับเข้าใจว่าลูกร้องเพราะได้กินนมไม่พอ
วิธีเตรียมนมผสมบนฉลากข้างกระป๋องก็ตอกย้ำให้เกิดความเข้าใจผิดมากยิ่งขึ้นด้วยการระบุปริมาณที่มากเกินกว่าความเป็นจริง เป็นกลยุทธ์ทางการตลาดง่าย ๆ ที่ทำให้แม่คิดว่าทารกแรกคลอดต้องการกินนมมาก ๆ และคิดว่าตนเองไม่มีน้ำนมมากพอ
ช่วงสองถึงสามเดือนแรก ทารกที่กินนมแม่ จะต้องการดูดนมบ่อย ๆ เป็นสิบ ๆ ครั้งต่อวัน ถี่ห่าง ช้าเร็ว ไม่เป็นเวลาที่แน่นอน แม่ที่เตรียมตัวมาดี และมีผู้ให้คำแนะนำที่ถูกต้องจะไม่เป็นกังวล แต่จะตอบสนองความต้องการของลูกโดยไม่ถูกจำกัดด้วยเวลา