ทางเลือกสุดท้ายที่ต้องไม่เลือก

คำแนะนำขององค์การอนามัยโลก (WHO) เกี่ยวกับอาหารที่ดีที่สุดและเหมาะสมที่สุดสำหรับทารกเรียงตามลำดับดังนี้
1.ให้ทารกดูดนมแม่ของตนจากอก
2.ให้ทารกดื่มนมแม่ของตนที่บีบหรือปั๊มออกมาด้วยวิธีอื่น (ใช้ขวดหรือป้อนด้วยช้อนหรือถ้วย)
3ให้ทารกดื่มนมจากแม่คนอื่น (ในต่างประเทศ มีการบริจาคน้ำนม เป็นธนาคารน้ำนมหรือ Milk Bank)
4.ให้ทารกดื่มนมผสม
สามทางเลือกแรกที่องค์การอนามัยโลกแนะนำไว้ แสดงให้เห็นชัดเจนว่า น้ำนมคน คือ อาหารที่เหมาะสมที่สุดสำหรับลูกคน นมผสมเป็นเพียง ทางเลือกสุดท้าย เท่านั้นเอง สัตว์เลี้ยงลูกด้วยนมแต่ละชนิดผลิตน้ำนมที่มีสารอาหารและแร่ธาตุแตกต่างกัน เพื่อตอบสนองความต้องการของลูกอย่างเหมาะสม การให้ทารกกินนมผสมที่ทำจากน้ำนมของสัตว์อื่นหรือวัตถุดิบชนิดอื่น เป็นการให้อาหารที่ผิดจากความต้องการตามธรรมชาติของมนุษย์โดยสิ้นเชิง

นมแม่มีคุณค่านานแค่ไหน

นมแม่เป็นอาหารที่ให้คุณค่าแก่ทารกตลอดเวลาไม่ว่าจะนานแค่ไหน
ตั้งแต่แรกคลอดถึง 6 เดือน นมแม่เป็นอาหารเพียงอย่างเดียวที่ทารกต้องการ
ในช่วงอายุ 6-12 เดือน ทารกควรได้รับนมแม่ร่วมกับอาหารเสริมสำหรับทารก เพื่อให้ทารก เพื่อให้ทารกได้เรียนรู้วิธีรับประทานอาหารอื่น โดยอาหารเสริมนั้น มีหน้าที่เพียง “ส่งเสริม” นมแม่ ไม่ใช่อาหารหลักหรือทดแทนนมแม่

เมื่ออายุครบขวบ ทารกจะมีฟันและสามารถรับประทานอาหารปกติได้แล้ว น้ำนมแม่จะมีปริมาณลดลงตามธรรมชาติ แต่สารอาหารและภูมิคุ้มกันไม่ได้ลดลงตามปริมาณ ภูมิคุ้มกันบางชนิด กลับยิ่งมีมากขึ้นอีกด้วยในช่วง 1-2 ปีหลัง
ตราบใดที่ทารกยังคงได้กินนมแม่ร่วมกับอาหารปกติหลากหลายชนิดในปริมาณที่มากกว่าปริมาณต่ำสุดที่ร่างกายควรได้รับ การเสริมด้วยนมวัวหรือนมผสมก็ไม่ใช่สิ่งจำเป็นสำหรับทารก
-------
องค์การอนามัยโลกและยูนิเซฟ แนะนำให้เลี้ยงทารกด้วยนมแม่ เพียงอย่างเดียวเป็นระยะเวลา 6 เดือน หลังจากนั้นให้นมแม่ควบคู่กับอาหารเสริมไปจนทารกอายุ 2 ปี หรือมากกว่า เพื่อเป็นการช่วยเหลือให้แม่สามารถเลี้ยงลูกด้วยนมแม่ได้ตามคำแนะนำ ควรมีข้อปฎิบัติดังนี้
-ให้ทารกดูดนมแม่ภายในหนึ่งชั่วโมงแรกหลังคลอด
-ให้ทารกกินนมแม่เพียงอย่างเดียวเป็นเวลา 6 เดือน โดยไม่จำเป็นต้องให้อาหารอื่น แม้แต่น้ำ
-ให้ทารกดูดนมแม่บ่อยเท่าที่ทารกต้องการโดยไม่จำกัดเวลาไม่ว่ากลางวันหรือกลางคืน
-ไม่ใช้ขวดนม จุกนม หรือจุหลอก

อาหารของวัวดีกว่าอาหารของแม่หรือเปล่า

แม่ที่ให้นมลูกจำนวนไม่น้อยเป็นกังวลว่า ตนเองจะกินอาหารที่มีประโยชน์ไม่เพียงพอ หรือเมื่อจำเป็นต้องกินยาเพื่อรักษาอาการเจ็บป่วย
ยานั้นจะส่งผ่านไปทางน้ำนมที่ให้ลูกกินหรือไม่ แต่แทบไม่มีพ่อแม่คนใดเป็นกังวลเลยว่า นมวัวที่เป็นวัตถุดิบหลักในการผลิตนมผสมของ
ทารกนั้น จะมาจากแม่วัวที่กินอาหารอะไร เป็นโรคอะไร และได้รับยาอันตรายอะไรมาบ้าง

แม่วัวในปัจจุบันจะถูกคัดเลือกสายพันธุ์ ฉีดกระตุ้นด้วยสารเร่งการเจริญเติบโตและฮอร์โมนต่าง ๆ เพื่อให้สามารถผลิตน้ำนมได้มากกว่า
ปกติถึง 10 เท่า วัวเหล่านีจะถูกเลี้ยงรวมกันในคอกอย่างแออัด เพื่อความสะดวกในการดูแลและรีดนมเช้า-เย็น อาหารของวัว คือ อาหาร
เม็ดสังเคราะห์ หรือหญ้าที่ปลูกด้วยการใส่ปุ๋ยวิทยาศาสตร์ และอาจปนเปื้อนด้วยสารเคมีหรือยาฆ่าแมลง เมื่อวัวเป็นโรค ก็จะได้รับยา
ปฏิชีวนะหรือยาอื่น ๆ ทั้งกินและฉีดในปริมาณที่สูงมาก เพราะเป็นสัตว์ขนาดใหญ่ "แล้วเหตุใดแม่จึงไว้ใจคุณภาพของนมวัว มากกว่านม
ตัวเอง"
------------------------------
ปกติลูกวัวแรกคลอดต้องการน้ำนมประมาณ 3-10 ลิตรต่อวันแต่แม่วัวในปัจจุบันถูกกระตุ้นด้วยสารเร่งการเจริญเติบโตและฮอร์โมนต่าง ๆ เพื่อให้สามารถผลิตน้ำนมได้มากถึง 30-70 ลิตรต่อวัน  ดังนั้นลูกวัวในปัจจุบันจึงต้องถูกแยกจากแม่วัวทันทีหลังจากคลอด เพราะถ้าปล่อยให้ลูกวัวอยู่กับแม่วัวและกินนมทั้งหมดที่แม่วัวผลิตได้ ( 30-70 ลิตร) ลูกวัวอาจจะตายเพราะไม่สามารถบริโภคน้ำนมมากขนาดนั้นได้ แต่ถ้าลูกวัวกินนมเพียงเท่าที่มันต้องการ( 3-10 ลิตร) เต้านมของแมวัวก็จะคัดมากจนเกิดการอักเสบ และอาจต้องตายเช่นกัน

แม่ต้องกินอะไร น้ำนมจึงจะดีพอสำหรับลูก

สังคมบริโภคนิยมทำให้เกิดความเชื่อว่า ของคุณภาพดีราคาถูกไม่มีอยู่จริง พ่อแม่จำนวนมากยอมจ่ายเงินซื้อนมผสมราคาแพงเพราะเชื่อว่าราคาที่แพงกว่าหมายถึงคุณภาพที่ดีกว่า นั่นหมายถึงความว่าผู้ที่มีฐานะการเงินดีกว่าก็จะสามารถสรรหาสิ่งที่มีคุณภาพดีกว่าให้ลูกของตน แต่น้ำนมแมเป็นความเท่าเทียมเพียงอย่างเดียวที่ธรรมชาติม่ให้กับทารกทุกคนโดยไม่เลือกสถานะ เพราะร่างกายของแม่ทุกคนสามารถผลิตน้ำนมที่มีคุณภาพดีเท่าเทียมกัน ร่างกายของแม่จะมีการเปลี่ยนแปลงโดยอัตโนมัติเพื่อการสร้างน้ำนมสำหรับบำรุงและเลี้ยงดูทารก เริ่มจากการสะสมไขมันไว้ในร่างกายมากขึ้นในระหว่างตั้งครรภ์ เพื่อสำรองไว้ใช้เป็นแหล่งพลังงานสำหรับการผลิตน้ำนมหลังคลอด ช่วงให้นมลูก การเผาผลาญอาหารของแม่จะมีประสิทธิภาพสูงกว่าปกติเป็นการช่วยรักษาพลังงานเอาไว้ ทำให้ร่างกายสามารถผลิตน้ำนมที่มีคุณภาพดีและมีปริมาณเพียงพอต่อความต้องการของทารก โดยไม่จำเป็นต้องได้รับสารอาหารมากกว่าปกติมากนัก

ผู้แม่อาจกังวลว่าน้ำนมของตนจะมีคุณค่าทางอาหารพอสำหรับลูกน้อยหรือไม่ รวมทั้งกังวลว่าการรบประทานอาหารหรือโภชนาการของตนเองจะมีผลต่อคุณภาพของน้ำนมหรือไม่ สิ่งเหล่านี้ไม่ใช่เรื่องที่ต้องกังวลเลย เพราะร่างกายสามารถดึงสารอาหารที่แม่รับประทานไปผลิตน้ำนมได้อย่างมีประสิทธิภาพ แม่ที่รับประทานอาหารหลากหลายตามธรรมชาติในประมาณที่เหมาะสม ถึงแม่จะไม่ใช่อาหารราคาแพง ก็สามารถผลิตน้ำนมที่มีคุณค่าที่สุดสำหรับทารกอยู่เสมอ และถ้าแม่ไม่ได้เป็นโรคขาดสารอาหารอย่างรุนแรงเป็นระยะเวลานาน ก็มั่นใจได้เลยว่าน้ำนมแม่จะมีคุณภาพดีและมีคุณค่าที่สุดสำหรับลูกน้อย

ทำไม นมแม่ตัวเล็ก นมวัวตัวโต

วัวเป็นสัตว์ 4 เท้า ต้องใช้กำลังร่างกายในการมีชีวิตรอด ลูกมันจึงยืนได้ทันทีที่คลอด สมองไม่ใช่อวัยวะที่จำเป็นสำหรับลูกวัว มนุษย์
เป็นสัตว์ 2 เท้าที่ใช้สมองในการดำรงชีวิตมากกว่าใช้กำลังร่างกาย พัฒนาการของทารกเริ่มต้นจากการสัมผัส, ได้ยิน,มองเห็น, จดจำ
ไปพร้อม ๆ กับการเคลื่อนไหวกล้ามเนื้อ ต้องใช้เวลาเกือบ 1 ปีกว่าจะสามารถยืนและเดินได้ น้ำนมคนมีไขมันมาก และเป็นกรดไขมัน
ชนิดพิเศษ ที่ไม่มีในนมของสัตว์อื่น เพื่อพัฒนาสมอง และสมองของมนุษย์ จะเจริญเติบโตเร็วมากภายใน 1-2 ปีแรกของชีวิต

เมื่อเปรียบเทียบกับทารกที่กินนมผสม ทารกที่กินนมแม่จะโตช้ากว่าและมีไขมันน้อยกว่า แต่ความจริงแล้ว เป็นการเติบโตที่ปกติ เหมาะสม
และมีสุขภาพแข็งแรงสมบูรณ์ดี การที่ทารกโตเร็วหรือมีน้ำหนักมากเกินไป ไม่เป็นผลดีกับสุขภาพของทารกในระยะยาว ทารกเหล่านี้
มีแนวโน้มที่จะโตขึ้นเป็นคนอ้วน มีความเสี่ยงของการเป็นโรคความดันสูง เบาหวาน โรคหัวใจ ในที่สุด//หัวใจ
ทารกมีเวลาเพียงแค่ 2-3 ปีที่จะสร้างภูมิคุ้มกันและพัฒนาสมองให้เต็มที่ด้วยการกินนมแม่ และมีเวลาอีกเกือบ 20 ปีที่จะพัฒนาร่างกาย
ให้เจริญเติบโตด้วยอาหารอื่น ๆ อีกมามาย การให้ทารกกินนมผสมเพื่อพัฒนาร่างกายให้โตเร็วใน 2-3 ปีแรก แล้วพลาดช่วงเวลาสำคัญ
ที่จะเสริมสร้างภูมิคุ้มกันและพัฒนาสมองด้วยนมแม่ เป็นสิ่งที่ถูกต้องหรือไม่

สะกดจิตด้วยคำโฆษณา

ให้ใช้ผลิตภัณฑ์นี้ เมื่อนมแม่ไม่พอ ข้อความนี้เป็นคำสะกดจิตของผู้ผลิตนมผสมทุกยี่ห้อ เป็นข้อความง่าย ๆ ในสื่อโฆษณาที่ใช้ได้ผลมาเป็นเวลานาน ทุกวันนี้พ่อแม่ส่วนใหญ่หลงเชื่อไปแล้วว่า การที่นมแม่ไม่พอนั้นเป็นเรื่องปกติ โดยไม่ทันได้ตระหนักเลยว่า มนุษย์ดำรงเผ่าพันธุ์กันมาได้อย่างไรตั้แต่ยุคดึกดำบรรพ์ โดยปราศจากนมผสม

กลยุทธ์ทางการตลาดของนมผสมสร้างภาพให้คนทั่วไปเข้าใจผิดว่า ทารกจะต้องกินนมวันละเท่านั้นเท่านี้ครั้ง ครั้งละเท่านั้นเท่านี้ออนซ์ เมื่อแม่มือใหม่อ่านคู่มือการเลี้ยงลูกที่เขียนตามสูตรของนมผสม ก็จะหลงเข้าใจผิดโดยง่ายว่าตัวเองมีน้ำนมไม่พอ และต้องเสริมด้วยนมผสม
เมื่อเริ่มเสริมด้วยนมผสม กลไกการผลิตน้ำนมของร่างกายแม่จะไม่ได้รับการกระตุ้นมากพอ เป็นการส่งสัญญาณให้ร่างกายรับรู้ว่าไม่มีความต้องการ ร่างกายจะผลิตน้ำนนมน้อยลง ยิ่งแม่เพิ่มนมผสมให้ทารกมากขึ้น ในที่สุดน้ำนมแม่ก็จะแห้งหายไปภายในเวลาไม่นาน
นอกจากนี้เรายังใช้ข้อมูลผิด ๆ เกี่ยวกับการเจริญเติบโตของทารก เช่น กราฟแสดงส่วนสูงและน้ำหนักที่ใช้มาตรฐานของทารกที่กินนมผสม มาเป็นเกณฑ์ในการวัดทารกที่กินนมแม่ ปกติทารกที่กินนมแม่จะโตช้ากว่าและมีไขมันน้อยกว่าทารกที่กินนมผสม เป็นการเติบโตที่เหมาะสมและมีสุขภาพดี แต่กลับถูกตัดสินว่าโตช้าเกินไป ทำให้มีคำแนะนำผิด ๆ ว่าทารกต้องได้นมผสมเพิ่ม เพื่อให้โตเร็วขึ้น อ้วนขึ้น ทารกเหล่านี้จะโตขึ้นมาเป็นเด็กอ้วน และกลายเป็นผู้ใหญ่อ้วนซึ่งมีความเสี่ยงของการเป็นโรคความดันสูง เบาหวาน และหัวใจ ในที่สุด
ถ้ามนุษย์เชื่อมั่นในกฎของธรรมชาติ ไม่หลงตามกลยุทธ์ของผู้ผลิตนมผสม แม่ทุกคนก็จะมีน้ำนมพอสำหรับลูกของตนแน่นอน

น้ำนมแม่น้อย แต่พอเพียง

ทันทีที่ออกมาจากท้องแม่ ทารกต้องเผชิญกับการเปลี่ยนแปลงขนานใหญ่ จากที่เคยได้รับทุกอย่างจากแม่ผ่านสายสะดือ ทารกจะต้องหายใจทางจมูก กินอาหารทางปาก ระบบย่อยอาหารเริ่มทำงานเอง น้ำนมแม่ในวันแรก ๆ จึงมีปริมาณน้อยมาก แต่เป็นน้ำนมที่อุดมไปด้วยคุณค่าทางอาหารอย่างมหาศาลที่เราเรียกว่า น้ำนมเหลือง หรือ โคลอสตรัม นั่นเอง

การดูดกระตุ้นบ่อย ๆ ทำให้น้ำนมเริ่มมีปริมาณมากขึ้น ทีละน้อย สัมพันธ์กับระบบย่อยอาหารของทารกที่ค่อย ๆ เริ่มทำงาน น้ำนมแม่สามารถย่อยได้ง่าย ย่อยเร็ว สารอาหารในนมแม่จะถูกดูดซึมไปใช้ได้ทั้งหมด
แม่ทุกวันนี้ไม่รู้ว่าการที่น้ำนมแม่ในวันแรก ๆ มีปริมาณน้อย ๆ เพียงแค่ซึมเป็นหยด ๆ นั้นเป็นสิ่งปกติ เพราะกระเพาะของทารกแรกคลอดนั้นมีความจุเพียง 5-7 ซีซี หรือขนาดเท่าลูกแก้วเล็ก ๆ เท่านั้น ทารกไม่จำเป็นต้องกินน้ำนมมาก ๆ ในวันแรก ๆ เพราะมีสารอาหารที่สะสมมาจากในท้องแม่มากพอที่จะอยู่ได้สองถึงสามวันโดยไม่ต้องกินอะไรเลย
ธรรมชาติสร้างให้นมแม่มีปริมาณน้อยในวันแรก ๆ ก็เพื่อให้ทารกจำเป็นต้องดูดบ่อย ๆ ให้กระเพาะเล็ก ๆ ที่ไม่เคยทำงานมาก่อน ได้รับการฝึกทีละน้อย ๆ ระบบการย่อยและระบบการขับถ่ายก็จะค่อย ๆ หัดทำงานไปพร้อม ๆ กัน นอกจากนั้นการที่แม่ได้โอบกอดลูกบ่อย ๆ ในขณะที่ให้ดูดนมยังเป็นการช่วยให้ทารกปรับตัวเข้ากับโลกใหม่ที่แตกต่างจากโลกภายในท้องแม่อีกด้วย
ภาพแม่วัวที่ถูกรีดนมพุ่งเป็นสายใส่ถังใบใหญ่ เป็นภาพที่คนในปัจจุบันเห็นบ่อยกว่าภาพของแม่ที่ให้ลูกดูดนมจากเต้า
เมื่อแม่มือใหม่เห็นว่านมของตนเองนั้นเห็นแค่ซึมเป็นหยด ๆ บีบเท่าไรก็ไม่ออก ทำให้แม่มือใหม่เข้าใจว่าตนเองไม่มีน้ำนม เมื่อลูกร้องไห้เป็นอย่างมากเพราะไม่คุ้นเคยกับสภาพแวดล้อมที่แตกต่างจากในท้องแม่โดยสิ้นเชิง กลับเข้าใจว่าลูกร้องเพราะได้กินนมไม่พอ
วิธีเตรียมนมผสมบนฉลากข้างกระป๋องก็ตอกย้ำให้เกิดความเข้าใจผิดมากยิ่งขึ้นด้วยการระบุปริมาณที่มากเกินกว่าความเป็นจริง เป็นกลยุทธ์ทางการตลาดง่าย ๆ ที่ทำให้แม่คิดว่าทารกแรกคลอดต้องการกินนมมาก ๆ และคิดว่าตนเองไม่มีน้ำนมมากพอ
ช่วงสองถึงสามเดือนแรก ทารกที่กินนมแม่ จะต้องการดูดนมบ่อย ๆ เป็นสิบ ๆ ครั้งต่อวัน ถี่ห่าง ช้าเร็ว ไม่เป็นเวลาที่แน่นอน แม่ที่เตรียมตัวมาดี และมีผู้ให้คำแนะนำที่ถูกต้องจะไม่เป็นกังวล แต่จะตอบสนองความต้องการของลูกโดยไม่ถูกจำกัดด้วยเวลา

ใครทำให้แม่ มีนมไม่พอ

มนุษย์เป็นสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนม ในสภาวะปกติ ไม่มีสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนมชนิดใดในโลกนี้ที่คลอดลูกมาแล้ว แม่ของมันจะไม่สามารถผลิตน้ำนมให้ลูกกินได้พอ แต่เหตุใดมนุษย์ซึ่งเป็นสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนมที่ฉลาดที่สุด กลับมีปัญหาไม่มีนมให้ลูกกินกันมากมาย
ธรรมชาติสร้างให้มนุษย์ผลิตน้ำนมเพื่อเป็นอาหารของทารกที่เพิ่งคลอด มีเพียง 2% เท่านั้นที่แม่อาจเสียชีวิต หรือเจ็บป่วยรุนแรงในระหว่างคลอดจนไม่สามารถให้นมลูกได้
แต่ในปัจจุบันนี้ แม่ที่สามารถเลี้ยงลูกด้วยนมแม่อย่างเดียวเป็นเวลา 6 เดือน โดยไม่ใช้นมผสมในประเทศไทยมีเพียง 5.4% เท่านั้น ซึ่งเป็นอัตราที่ต่ำที่สุดในทวีปเอเชีย และต่ำที่สุดแห่งหนึ่งของโลก

ทำไมจึงเป็นเช่นนั้น
สัตว์เลี้ยงลูกด้วยนมทุกชนิด เมื่อคลอดลูกแล้วแม่ลูกอ่อนจะอยู่กับลูกของมันตลอดเวลา เพื่อปกป้องภัยอันตรายและให้อาหารลูกด้วยการให้ดูดนม ทันทีที่ลูกคลอดออกมาและดูดนมแม่ของมัน ร่างกายของแม่จะผลิตน้ำนมเพื่อตอบสนองความต้องการของลูก เป็นกลไกอัตโนมัติตามธรรมชาติ แม่ลูกคลอเคลียอยู่ด้วยกันตลอดเวลา ลูกสามารถดูดนมตลอดเวลาทุกครั้งที่ต้องการ ไม่มีสัตว์ชนิดใดที่ใช้น้ำนมของสัตว์ชนิดอื่นเลี้ยงลูกของมัน ลูกอ่อนจะแยกจากแม่ของมันก็ต่อเมื่อโตพอที่จะหาอาหารเองได้แล้วเท่านั้น
ในอดีตมนุษย์ก็เป็นเช่นนั้น แต่ปัจจุบันมนุษย์ซึ่งเป็นสัตว์มีสติปัญญา กลับใช้สติปัญญานั้นในทางที่ผิดจากธรรมชาติ ทันทีที่คลอดลูก แม่กับลูกจะถูกแยกจากกันในทันที สัญชาตญาณในการดูดนมของทารกแรกคลอดจะมีมากที่สุดภายในหนึ่งชั่วโมงแรกหลังคลอด แต่เมื่อลูกถูกแยกจากแม่โดยที่ไม่ได้ดูดนม ร่างกายแม่ไม่ได้รับการกระตุ้นให้หลั่งฮอร์โมนในการผลิตน้ำนม ร่างกายแม่จะไม่ได้รับสัญญาณว่าต้องผลิตน้ำนม

ถ้านมผสมมีอันตราย ทำไมแพทย์ส่วนใหญ่จีงแนะนำ

ในสมัยที่ยังไม่มีนมผสม แม่ทุกคนรู้วิธีเลี้ยงลูกด้วยนมแม่ เพราะเป็นกิจกรรมที่จำเป็นต่อการรอดชีวิตและดำรงเผ่าพันธุ์ของมนุษย์ ปัจจุบันนี้ ในบางประเทศที่ยังไม่ถูกครอบงำด้วยการตลาดของนมผสม การที่ผู้หญิงไม่สามารถเลี้ยงลูกด้วยนมแม่ หรือไม่รู้วิธีเลี้ยงลูกด้วยนมแม่เป็นเรื่องแปลกประหลาดหรือกระทั่งไร้สาระ เพราะ “ผู้หญิงทุกคนต้องรู้ว่าจะเลี้ยงลูกด้วยนมแม่อย่างไร”

เนื่องจากการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่เป็นเรื่องธรรมชาติ และเป็นทักษะที่มนุษย์แต่ละรุ่นถ่ายทอดประสบการณ์ต่อ ๆ กันมา ดังนั้นในหลักสูตรแพทย์จึงไม่มีวิชาที่สอนเกี่ยวกับการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่ หรือวิธีช่วยเหลือและแก้ปัญหาให้แม่เลี้ยงลูกด้วยนมแม่ กุมารแพทย์เรียนรู้เฉพาะเรื่องสุขภาพและความเจ็บป่วยของทารก และการรักษาอาการเจ็บป่วยเหล่านั้น
ถึงแม้การเลี้ยงลูกด้วยนมแม่จะเป็นเรื่องธรรมชาติ แต่ก็เหมือนกับทักษะอื่น ๆ ในการดำรงชีวิต ที่เราเรียนรู้จากการสังเกตและลงมือปฏิบัติจริง มากกว่าเรียนรู้จากการสั่งสอน ในสังคมที่การเลี้ยงลูกด้วยนมผสมกำลังกลายเป็นเรื่องธรรมดา ทักษะที่เป็นพื้นฐานในการเอาตัวรอดและดำรงเผ่าพันธุ์ของมนุษย์ซึ่งเป็นสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนมนี้กำลังสูญหายไป
กว่าหนึ่งชั่วอายุคนแล้วที่สังคมทั่วไปไม่มีภาพของเด็กทารกดูดนมแม่ให้เห็น มีแต่พ่อแม่ป้อนลูกด้วยขวดนม
เมื่อแม่มือใหม่ไม่รู้ว่าจะเลี้ยงลูกด้วยนมแม่อย่างไร หรือเข้าใจผิดว่าตัวเองไม่มีน้ำนม กุมารแพทย์ซึ่งไม่เคยเรียนเรื่องการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่จากหลักสูตรของแพทย์ และไม่เคยมีประสบการณ์จากการเลี้ยงลูกด้วยนมตนเองมาก่อน จะไม่รู้ว่าจะช่วยแม่เหล่านั้นได้อย่างไร นอกจากสั่งนมผสมให้ทารก
ยิ่งไปกว่านั้นกุมารแพทย์บางส่วนได้รับแต่ข้อมูลด้านเดียวจากบริษัทผู้ผลิตว่า นมผสมเป็นสารอาหารที่ดีที่สุดสำหรับทารก รองจากนมแม่ จะช่วยแก้ปัญหาให้แม่ที่ไม่สามารถเลี้ยงลูกด้วยนมแม่ได้ ทั้งที่ความเป็นจริงแล้ว นมผสมคือต้นเหตุที่ทำให้แม่ไม่สามารถเลี้ยงลูกด้วยนมแม่ได้ และเนื่องจากการใช้นมผสมอาจเป็นอันตรายต่อทารก จึงควรใช้ในกรณีที่จำเป็นจริง ๆ นั่นคือกรณีที่แม่เสียชีวิต, แม่เป็นโรคร้ายแรงจนไม่สามารถให้นมลูกได้, แม่ที่รับลูกคนอื่นมาเป็นลูกบุญธรรม หรือกรณีแม่ที่ตัดสินใจว่าจะไม่เลี้ยงลูกด้วยนมแม่ เท่านั้น

การตลาดผ่านโรงพยาบาล

จากจุดเริ่มต้นของ อาหารทดแทนนมแม่ ที่ไม่จำเป็น ปัจจุบันอุตสาหกรรมนมผสมมียอดขายทั่วโลกนับแสนล้านบาทในแต่ละปีซึ่งมาพร้อมกับผลเสียทางสุขภาพที่เพิ่มข้นของทารก เพราะไม่ได้กินนมแม่
บริษัทนมผสมใช้บุคลากรทางการแพทย์ และโรงพยาบาลเป็นช่องทางหลักในการจำหน่ายสินค้าของตน เพราะการที่แพทย์เป็นผู้แนะนำหรือสั่งนมผสมให้ทารกนั้น เสมือนเป็นการรับประกันคุณภาพให้กับนมผสมนั้นว่าดีจริงเหมือนโฆษณา ทำให้พ่อแม่ทุกคนไม่เคยระแวงหรือตระหนักถึงอันตรายของนมผสมเลย
จากการสำรวจพบว่า หลังจากกลับบ้าน 93 เปอเซนต์ ของแม่จะยังคงใช้นมผสมยี่ห้อเดิมที่ได้รับจากโรงพยาบาลนั้น

ดั้งนั้น แต่ละบริษัทจึงแข่งขันกันเสนอผลตอบแทนจำนวนมหาศาลให้กับแพทย์และโรงพยาบาล เพื่อให้บริษัทของตนได้สิทธิแต่เพียงผู้เดียวในการจัดจำหน่ายผลิตภัณฑ์ของตนผ่านโรงพยาบาล

วิธีเตรียมนมผสมที่ถูกต้อง(ที่ผู้ผลิตไม่เคยบอก)

เนื่องจากนมผสมไม่ใช่ผลิตภัณฑ์ที่ปลอดเชื้อ องค์การอนามัยโลกจึงออกคู่มือเพื่อแนะนำวิธีการเตรียมนมผสมขึ้นมาโดยเฉพาะ หนึ่งในคำแนะนำนั้นระบุว่า น้ำที่ใช้เตรียมนมผสมต้องต้มให้เดือดแล้วปล่อยให้อุณหภูมิลดลง แต่ต้องไม่ต่ำกว่า 70 องศาเซลเซียส แล้วจึงค่อยผสมนมผงลงไป เพราะถ้าน้ำมีอุณหภูมิต่ำกว่านี้จะไม่สามารถฆ่าเชื้อโรคที่ปนเปื้อนอยู่ในนมผสมได้ จากนั้นจึงทิ้งไว้ให้เย็นลง จนกระทั่งสามารถป้อนทารกได้โดยไม่ลวกปาก แต่คำแนะนำนี้ไม่มีอยู่บนฉลากของนมผสมแม้แต่ยี่ห้อเดียว

อันตรายที่เกิดจากการใช้นมผสมโดยไม่จำเป็น

คำแนะนำนี้มีอยู่ที่บรรจุภัณฑ์ของนมผสมทุกยี่ห้อ แต่เป็นคำแนะนำที่พ่อแม่น้อยคนจะตระหนัก เพราะเป็นคำเตือนที่พิมพ์ด้วยตัวอักษรเล็ก ๆ ไม่ดึงดูดสายตาเท่ากับคำว่า “DHA 5 เท่า, ARA, Omega 3-6-9, ฉลาด แข็งแรง สายตาดี ปกป้อง ภูมิคุ้มกัน A+ Progress ฯลฯ”
อันตรายจากการเตรียมหรือใช้นมผสมไม่ถูกต้อง
• นมผสมไม่ว่าเปิดใหม่ หรือเปิดทิ้งไว้ก็อาจจะมีการปนเปื้อนของเชื้อโรคได้ตลอดเวลา
• น้ำซึ่งใช้เตรียมนมผสมอาจไม่สะอาดพอ
• ขวดและจุกนมที่ไม่ได้ทำความสะอาดอย่างถูกต้องก็อาจมีเชื้อโรคที่เป็นอันตราย
• ใช้นมผสมในสัดส่วนที่น้อยเกินไป ทารกอาจได้รับสารอาหารไม่ครบถ้วน
• ใช้นมผสมในสัดส่วนที่มากเกินไป ทารกอาจมีปัญหากับการย่อย และทำให้ร่างกายขาดน้ำ
• สารสังเคราะห์ที่เติมในนมผสมบางอย่างมีปริมาณมากเกินไป และร่างกายทารกไม่สามารถขับออกมาได้ จะส่งผลเสียกับสุขภาพของทารก
• ร่างกายทารกบางคนไวต่อสารสังเคราะห์บางอย่างในนมผสม ทำให้เกิดการแพ้ และเจ็บป่วยได้ง่าย
นมแม่เป็นของเหลวที่มีชีวิต มีภูมิต้านทานต่อเชื้อโรคต่าง ๆ และมีสารอาหารที่เหมาะสมที่สุดต่อการเจริญเติบโตของทารก นมผสมเป็นแค่ซุปรวมของสารเคมีสีขาว และไม่เหมาะกับทารกคนใดเลย
--Dr. Jack Newman

ทำไมต้องใช้ตามคำแนะนำของแพทย์

นมผสมทุกยี่ห้อจะระบุวิธีใช้ว่า “ควรใช้ตามคำแนะนำของแพทย์” ทำให้เข้าใจว่า ความต้องการสารอาหารของทารกแต่ละคนจะแตกต่างกันไปและกุมารแพทย์จะสามารถวิเคราะห์ความแตกต่างนี้และเลือกนมผสมให้เหมาะกับทารกได้ แต่ในความเป็นจริงแล้วมันไม่ใช่สิ่งที่ถูกต้องและเป็นไปไม่ได้

ในทางปฏิบัติ แพทย์จะ “ทดลอง” ให้นมยี่ห้อใดยี่ห้อหนึ่งกับทารกก่อน (ซึ่งมักจะเป็นยี่ห้อที่ให้การสนับสนุนทางใดทางหนึ่งแก่โรงพยาบาลนั้น) ถ้าพบว่าทารกมีปัญหา ก็จะให้ทารก "ทดลอง" ยี่ห้ออื่นหรือชนิดอื่นต่อไป
พ่อแม่ส่วนใหญ่ไม่ทันได้ตระหนักว่า การต้องเปลี่ยนยี่ห้อหรือชนิดของนมผสมไปเรื่อย ๆ จนกว่าจะพบนมผสมที่ลูกสามารถกินได้โดยไม่มีปัญหานั้น ไม่ต่างกับการให้ลูกเป็น “หนูทดลอง” นมผสมแต่ละยี่ห้อเลย
การทดลองกินนมยี่ห้อต่าง ๆ ทำให้ทารกบางคนต้องเจ็บป่วยทรมานอย่างไม่มีทางหลีกเลี่ยง อาการเจ็บป่วยเหล่านี้ได้แก่ ผื่นแพ้ทางผิวหนัง อาเจียน ท้องผูก ท้องเสีย ถ่ายมีเลือดปน หายใจขัด คัดจมูก หลับไม่สนิท เป็นหวัดเรื้อรัง ฯลฯ อาการเหล่านี้เป็นปฏิกิริยาที่ร่างกายทารกแสดงการต่อต้านสารสังเคราะห์ต่าง ๆ ที่มีอยู่ในนมผสมนั่นเอง
ผู้ผลิตนมผสมรู้ถึงอันตรายเหล่านี้ดี แต่แทนที่จะแสดงคำเตือนในการใช้ให้ชัดเจนและเหมาะสมบนฉลากบรรจุภัณฑ์ ผู้ผลิตกลับหลอกลวงผู้บริโภคต่อไปว่า นมผสมของตนได้พัฒนาสูตรใหม่ สามารถย่อยได้ง่ายและไม่ก่อให้เกิดการแพ้ ในขณะที่ยังมีทารกอีกจำนวนมากที่มีอาการแพ้และเจ็บป่วยจากการกินนมผสมสูตรใหม่นั้นเอง
ด้วยกลยุทธ์ทางการตลาด การโฆษณาทางสื่อต่าง ๆ ที่ใช้ภาพเด็กหน้าตาน่ารัก ฉลาดเฉลียว และคุณแม่สมัยใหม่ที่เป็นดาราหรือบุคคลมีชื่อเสียง ทำให้พ่อแม่มือใหม่ทั้งหลายหลงเชื่อว่านมผสมในปัจจุบันดีและปลอดภัยไม่ต่างกับนมแม่ โดยไม่ตระหนักเลยว่า ทุกครั้งที่เปิดนมกระป๋องให้ลูกกินนั้นมีความเสี่ยงและอันตรายรออยู่เสมอ
แท้จริงแล้ว ข้อความที่ระบุว่า ควรใช้ตามคำแนะนำของแพทย์ อาจไม่ใช่ คำเตือน สำหรับพ่อแม่ แต่เป็น เกราะป้องกัน ให้กับผู้ผลิตนมผสมในกรณีที่ทากรเกิดอันตรายอันตรายจากกินนมผสมต่างหาก เพราะผู้ผลิตนมผสมสามารถใช้เป็นข้ออ้างได้ว่า การเจ็บป่วยหรือการเสียชีวิตของทารกจากการกินนมผสมนั้นเกิดจากการใช้ไม่ถูกต้อง มากกว่าอันตรายจากตัวผลิตภัณฑ์เอง

ผลิตภัณฑ์ที่ไม่ปลอดเชื้อ

คุณรู้หรือไม่ว่า
• นมผงดัดแปลงสำหรับทารกทุกยี่ห้อที่ขายกันอยู่ทั่วโลกในปัจจุบัน ไม่ใช่ผลิตภัณฑ์ปลอดเชื้อ แม้จะบรรจุอยู่ในกระป๋องหรือบรรจุภัณฑ์ที่ปิดสนิทมาจากโรงงานก็ตาม นมผสมเหล่านี้ไม่ได้ผ่านกระบวนการสเตอริไรส์ (การฆ่าเชื้อโรค) ในระหว่างการผลิต เพราะกระบวนการสเตอริไรส์ต้องใช้ความร้อนสูงเพื่อฆ่าเชื้อโรค ซึ่งจะทำลายคุณค่าของสารอาหารในผลิตภัณฑ์ไปด้วย
นมผงดัดแปลงสำหรับทารกที่บรรจุมาในกระป๋องที่ปิดสนิทจากโรงงาน อาจมีการปนเปื้อนของเชื้อแบคทีเรียอันตราย เช่น ซัลโมเนลลา (Salmonella) หรือ เอ็นเทอร์โรแบคเตอร์ ซาซากิ (Enterobacter sakazakii) เชื้อโรคเหล่านี้เจริญเติบโตได้ดีในน้ำนมอุ่น ๆ และแพร่พันธุ์ได้อย่างรวดเร็ว สามารถก่อให้เกิดการติดเชื้อที่รุนแรง เช่น ภาวะโลหิตเป็นพิษ ลำไส้อักเสบ เยื่อหุ้มสมองอักเสบ ซึ่งอาจเป็นอันตรายถึงชีวิตได้ ความเสี่ยงเหล่านี้มีมากที่สุดในภูมิภาคที่มีอากาศร้อน

• กระบวนการผลิตนมผงดัดแปลงสำหรับทารกมีหลายขั้นตอน จึงมีโอกาสเกิดการปนเปื้อนของเชื้อโรคชนิดต่าง ๆ ในกระบวนการผลิตได้ตลอดเวลา บริษัทอาจจะทำการสุ่มตรวจนมผสมเพื่อตรวจหาเชื้อโรค แต่การสุ่มตรวจไม่ใช่การรับประกันความปลอดเชื้อ เราจึงไม่สามารถรู้ได้เลยว่า นมกระป๋องที่เรากำลังจะเปิดมาใช้เลี้ยงทารกนั้น จะมีเชื้อโรคปนเปื้อนอยู่หรือไม่ กว่าเราจะรู้ ก็ต่อเมื่อเกิดอันตรายกับทารกที่ได้รับนมผสมเหล่านั้นไปแล้วเท่านั้น
• ระหว่างปีพ.ศ. 2543 – 2552 (เมษายน) มีรายงานการปนเปื้อนของเชื้อโรคและการเรียกเก็บนมผสมยี่ห้อต่าง ๆ ที่ไม่ปลอดภัยสำหรับทารกออกจากท้องตลาดถึง 78 ครั้ง ในหลายสิบประเทศทั่วโลก แม้แต่ประเทศที่พัฒนาแล้วอย่างสหรัฐอเมริกา อังกฤษ ออสเตรเลีย ฝรั่งเศส ฯลฯ รวมทั้งประเทศไทยด้วย
บ่อยครั้งที่เรามักจะเหมารวมไปว่าอาการป่วยของทารก (เช่น อาการท้องร่วง หรือการติดเชื้อในระบบทางเดินอาหาร) เกิดจากน้ำที่ใช้เตรียมนมผสมไม่สะอาด ขวดนม, จุกนม, หรืออุปกรณ์ที่ใช้เตรียมนมผสมไม่สะอาด โดยไม่ได้หาสาเหตุที่แท้จริง ทั้ง ๆ ที่อาการเจ็บป่วยหรือติดเชื้อนั้นอาจจะเกิดจากเชื้อโรคที่ปนเปื้อนมาในนมผสมนั่นเอง
• เนื่องจากนมผสมไม่ใช่ผลิตภัณฑ์ที่ปลอดเชื้อ องค์การอนามัยโลกจึงออกคู่มือเพื่อแนะนำวิธีการเตรียมนมผสมขึ้นมาโดยเฉพาะ หนึ่งในคำแนะนำนั้นระบุว่า น้ำที่ใช้เตรียมนมผสมต้องต้มให้เดือดแล้วปล่อยให้อุณหภูมิลดลง แต่ต้องไม่ต่ำกว่า 70 องศาเซลเซียส แล้วจึงค่อยผสมนมผงลงไป เพราะถ้าน้ำมีอุณหภูมิต่ำกว่านี้จะไม่สามารถฆ่าเชื้อโรคที่ปนเปื้อนอยู่ในนมผสมได้ จากนั้นจึงทิ้งไว้ให้เย็นลง จนกระทั่งสามารถป้อนทารกได้โดยไม่ลวกปาก แต่คำแนะนำนี้ไม่มีอยู่บนฉลากของนมผสมแม้แต่ยี่ห้อเดียว

โรคแพ้โปรตีนนมวัวมัจจุราชเงียบจากนมผสม

โรคแพ้โปรตีนนมวัวมัจจุราชเงียบจากนมผสม วัตถุดิบหลักของนมผสม คือ นมวัวนมวัวมีโปรตีนมากกว่าน้ำนมแม่ 3 เท่า เป็นโปรตีนเคซีนซึ่งมีขนาดใหญ่และหยาบเหนียว เหมาะกับลูกวัวซึ่งเป็นสัตว์ที่มี 4 กระเพาะ ทารกไม่สามารถย่อยน้ำนมวัวได้โดยตรง การผลิตนมผสมจึงต้องนำน้ำนมวัวไปผ่านกระบวนการสังเคราะห์เพื่อเจือจางและย่อยขนาดของโปรตีนลงเพื่อให้สามารถใช้เป็นอาหารสำหรับทารกได้
ถึงแม้นมวัวจะถูกดัดแปลงเพื่อย่อยขนาดของโปรตีนลงเพื่อให้สามารถใช้เป็นนมผสมสำหรับทารกได้ แต่นมผสมก็ไม่ได้เป็นอาหารที่ดีและปลอดภัยสำหรับทารกทุกคนในระยะ 4-6 เดือนแรก เยื่อยบุทางเดินอาหาร ระบบน้ำย่อยต่าง ๆ และระบบภูมิคุ้มกันของทารกยังไม่พัฒนาเต็มที่ การได้รับนมผสมหรืออาหารอื่น ซึ่งเป็นสารแปลกปลอม นอกจากจะเป็นสิ่งที่ทารกไม่สามารถย่อยได้แล้ว ยังทำให้ทารกเสี่ยงต่อการเกิดอาการแพ้
ทารกที่ไวต่อสารกระตุ้นภูมิแพ้ จะแสดงอาการให้เห็นในทันทีที่ได้รับนมผสม อาการเหล่านั้นได้แก่ ผื่นแพ้ตามร่างกาย ปากเจ่อบวม อาเจียน และท้องเสีย แต่ทารกส่วนใหญ่จะแสดงอาการเมื่อได้รับนมผสมติดต่อกันเป็นระยะเวลาหนึ่ง โดยจะมีอาการใดอาการหนึ่ง หรือหลายอาการร่วมกัน ได้แก่ ท้องผูก ท้องเสีย มีลมในท้องมาก ร้องไห้งอแงโดยไม่ทราบสาเหตุ ป่วยกระเสาะกระแสะ เป็นหวัดบ่อย ไอ จาม น้ำมูกไหล หลอดลมอักเสบ ฯลฯ
อาการต่าง ๆ ที่เกิดขึ้น เป็นกระบวนการที่ร่างกายทารกพยายามขับล้างพิษที่เกิดจากนมผสมออกจากร่างกาย แต่พ่อแม่ส่วนใหญ่ไม่เข้าใจและไม่รู้สาเหตุ เนื่องจากอาการเหล่านั้นเป็นดูอาการป่วยธรรมดา ๆ ที่คนทั่วไปเชื่อว่ามักจะเกิดขึ้นเป็นปกติในทารก แต่ในความเป็นจริงแล้ว อาการป่วยเหล่านี้เกิดขึ้นน้อยมากในทารกที่กินนมแม่
นอกจากนี้กระบวนการขับล้างพิษตามธรรมชาติดังกล่าวยังถูกขัดขวางโดยยาปฏิชีวนะและการรักษาต่าง ๆ แทนที่จะจัดการที่ต้นเหตุด้วยการหยุดนมผสม
ดังนั้นไม่ว่าจะรักษาเท่าไหร่ อาการป่วยก็ไม่หายเสียที เพราะร่างกายทารกต้องรับศึกสองด้าน ด้านหนึ่ง คือ นมผสมที่ถูกป้อนเข้าไปอย่างไม่หยุดยั้ง อีกด้าน คือ ผลข้างเคียงจากยาปฏิชีวนะและยารักษาอาการอื่น ๆ 
นั่นเป็นเหตุผลที่ทำให้เด็กมีสุขภาพอ่อนแอ เจ็บไข้ได้ป่วยเป็นประจำ ไม่ว่าจะระวังแค่ไหน ก็ยังป่วยอยู่ดี
ในรอบสิปปีที่ผ่านมา เด็กไทยเป็นภูมิแพ้มากกว่าเดิม 3-4 เท่าโดยเฉพาะเด็กกรุงเทพ เป็นโรคภูมิแพ้ถึงร้อยละ 40
พ่อแม่บางคนเชื่อว่า นมผสมสูตรนมแพะ เหมาะสมที่จะใช้ทดแทนนมผสมสูตรนมวัว ในกรณีที่ทารกีอาการแพ้นมวัว แต่โปรตีนในนมแพะมีโครงสร้างใกล้เคียงกับนมวัวมาก ดังนั้นทารกส่วนใหญ่ที่แพ้โปรตีนในนมวัว ก็จะแพ้โปรตีนในนมแพะด้วยเช่นกัน นมถั่วเหลืองก็สามารถก่อให้เกิดอาการแพ้ได้มากพอ ๆ กับนมวัวยิ่งไปกว่านั้นทารกท่กินนมผสมสูตรถั่วเหลืองยังมีโอกาสที่จะแพ้ถั่วเหลืองในอาหารได้มากขึ้นภายหลัง
การที่แม่ตั้งครรภ์บำรุงร่างการด้วยการดื่มนมวัว หรือนมชงที่มีส่วนผสมของนมวัวในระหว่างตั้งครรภ์มาก ๆ ตามโฆษณาชวนเชื่อจะทำให้ทารกที่เกิดมีความเสี่ยงสูงที่จะแพ้นมวัว และทำให้ป่วยเป็นโรคภูมิแพ้ได้ง่ายกว่าคนทั่วไป ดังนั้นแม่ตั้งครรภ์ควรรับประทานอาหารเสริมแคลเซียมชนิดอื่นแทนการดื่มนมวัว

DHA และ ARA ในนมผสม... โฆษณาชวนเชื่อ

DHA เป็นกรดไขมันที่พบมากในสมองและเยื่อกระจกตา ทารกสามารถสร้าง DHA ได้เอง แต่อาจจะมีปริมาณไม่มากพอ น้ำนมแม่จึงมี DHA ธรรมชาติ อยู่ในปริมาณมาก
ARA เป็นกรดไขมันที่เชื่อว่าเป็นองค์ประกอบสำคัญในระบบประสาทส่วนกลาง
นมวัวหรือนมถั่วเหลืองไม่มี DHA ตามธรรมชาติ บริษัทผู้ผลิตจึงต้องเติม DHA สังเคราะห์ ลงในนมผสม
นักวิจัยพบว่าการเติม DHA สังเคราะห์ ในนมผสม ทำให้ระดับ ARA ที่มีอยู่ตามธรรมชาติ ในกล้ามเนื้อของทารกลดต่ำลงกว่าปกติ3
บริษัทนมผสมจึงแก้ไขความผิดพลาดนี้โดยการเติม ARA สังเคราะห์ ในนมผสมที่เติม DHA สังเคราะห์ ด้วย
DHA และ ARA สังเคราะห์ที่ใช้เติมในนมผสม ผลิตจากการหมักสาหร่ายในสารอาหารเหลว แล้วนำสาหร่ายแห้งไปบ่มกับสารละลายเฮ็กเซน* เพื่อสกัดน้ำมัน DHA และ ARA สังเคราะห์ ออกมา
DHA และ ARA สังเคราะห์ มีโครงสร้างโมเลกุลต่างจาก DHA และ ARA ตามธรรมชาติในนมแม่ ทารกบางคนที่ไม่สามารถย่อย DHA และ ARA สังเคราะห์ได้ จะเกิดอาการระคายเคืองในระบบทางเดินอาหาร
สำนักงานอาหารและยาสหรัฐฯ (FDA) ได้รับรายงาน 98 ฉบับ4 เกี่ยวกับทารกที่มีปฏิกริยาตอบสนองต่อ DHA และ ARA สังเคราะห์ โดยมีอาการตั้งแต่การอาเจียนหรือท้องร่วงท้องเสีย (ซึ่งอาการจะหายไปเมื่อหยุดให้นมผสมสูตรเติม DHA และ ARA สังเคราะห์) จนถึงกรณีที่ต้องเข้าห้องไอซียูเพราะชักหรือขาดน้ำรุนแรง
ผู้เชี่ยวชาญของสถาบันยา (Institute of Medicine) ของสหรัฐอเมริกาเชื่อว่ามีทารกจำนวนมากเจ็บป่วยเนื่องจากกินนมผสมสูตร DHA และ ARA สังเคราะห์ แต่ไม่ได้ส่งรายงานให้ FDA เนื่องจากแพทย์, พยาบาล, และพ่อแม่ไม่ได้เชื่อมโยงอาการเจ็บป่วยของทารกกับการกินนมผสมสูตร DHA และ ARA

DHA 5-6 เท่า ดีจริงหรือ
DHA และ ARA ธรรมชาติในนมแม่จะมีการปรับปริมาณอัตโนมัติ ในแต่ละช่วงเวลาอย่างเหมาะสม เพื่อให้เข้าไปปรับสมดุลระบบภายในร่างกายของทารกได้อย่างทันท่วงที และทำให้เซลล์สมอง และระบบการทำงานต่าง ๆ ของทารกพัฒนาได้อย่างสมบูรณ์เต็มที่
จากงานวิจัยในปัจจุบัน ยังไม่ทราบว่าปริมาณ DHA และ ARA สังเคราะห์ในนมผสมควรจะเป็นเท่าใด และต้องมีสัดส่วนอย่างไร
ถ้า DHA และ ARA สังเคราะห์ที่เติมแต่งเข้าไป มากเกินกว่าปริมาณที่ทารกสามารถดูดซึมได้ ส่วนที่เกินจะต้องถูกกำจัดออกทางไต แต่ไตของทารกยังพัฒนาไม่เต็มที่จนกว่าจะอายุ 2 ปี จึงไม่สามารถกำจัดสารสังเคราะห์ส่วนเกินได้ สารเหล่านี้อาจกลายเป็นสารตกค้างและเป็นพิษต่อร่างกาย
ผู้ผลิตนมผสมอวดอ้างว่า DHA และ ARA สังเคราะห์ ที่เติมในนมผสมมีส่วนช่วยพัฒนาสมองและสายตา
แต่ผลการวิจัยที่น่าเชื่อถือได้พบว่า ทารกกินนมผสมที่เติม DHA และ ARA สังเคราะห์ ไม่ได้มีพัฒนาการดีกว่าทารกที่กินนมผสมสูตรธรรมดาเลย5
งานวิจัยบางส่วนที่สรุปว่านมผสมที่เติม DHA และ ARA สังเคราะห์ ทำให้เด็กฉลาดกว่า ล้วนแต่เป็นงานวิจัยที่สนับสนุนโดยผู้ผลิตนมผสมเอง นอกจากนี้ผู้ผลิตก็ไม่มีหลักฐานที่ยืนยันความปลอดภัยสำหรับทารกในการบริโภค DHA และ ARA สังเคราะห์ แต่บริษัทนมผสมก็ยังนำ DHA และ ARA สังเคราะห์ มาใช้ในนมผสม เพียงเพื่อให้ขายนมผสมได้มากขึ้นและตั้งราคาขายได้สูงขึ้น
มาร์เท็ค ไบโอไซแอนซ์ คอร์ปอเรชั่น (Martek Biosciences Corporation) ผู้ผลิตและจำหน่าย DHA และ ARA สังเคราะห์ ให้กับบริษัทผลิตนมผสมเกือบทุกบริษัท ยอมรับว่า จุดประสงค์ของสารเติมแต่งเหล่านี้ ไม่ใช่เพื่อส่งเสริมพัฒนาการที่มีสุขภาพของทารก แต่เพื่อใช้เป็นเครื่องมือในการทำการตลาดและโฆษณา ในเอกสารที่บริษัททำขึ้นเพื่อกระตุ้นการลงทุนจากนักลงทุน มาร์เท็คระบุอย่างชัดเจนว่า
“ในปัจจุบันนมผสมสำหรับทารกกลายเป็นสินค้าโภคภัณฑ์ ซึ่งสินค้าทุกยี่ห้อแทบจะเหมือนกันทุกประการ ทุกบริษัทจึงต้องแข่งขันกันอย่างดุเดือดในการสร้างความแตกต่างให้กับยี่ห้อของตน ถึงแม้ DHA และ ARA สังเคราะห์ จะไม่มีประโยชน์ แต่เราเชื่อว่ามันก็ยังจะถูกนำไปเติมในนมผสมอย่างแพร่หลาย เพื่อใช้เป็นเครื่องมือทางการตลาดและทำให้บริษัทเหล่านั้นสามารถโฆษณาได้ ว่านมผสมของบริษัทตัวเอง “ใกล้เคียงกับนมแม่มากที่สุด” 7
เมื่อต้นเดือนธันวาคม ค.ศ. 2009 ศาลกลางสหรัฐมีคำตัดสินว่าบริษัทผู้ผลิตนมผสมยักษ์ใหญ่รายหนึ่งของโลก มีความผิดฐานโฆษณาด้วยการให้ข้อมูลบิดเบือนจากความเป็นจริง 6คำโฆษณาของผู้ผลิตนมผสมรายนี้อ้างว่า นมผสมยี่ห้อของตนได้รับการพิสูจน์ทางการแพทย์ว่าช่วยพัฒนาการเจริญเติบโตของสมองและสายตา การใช้นมผสมอื่น ๆ อาจทำให้ทารกมีพัฒนาการที่ด้อยกว่าซึ่งเป็นคำกล่าวอ้างที่ไม่เป็นความจริง และไม่สามารถหาหลักฐานมาพิสูจน์ได้
-------------------------------------------------------
* สารละลายเฮ็กเซนเป็นสาระละลายที่ใช้วงการอุตสาหกรรมทั่วไป มีคุณสมบัติเป็นพิษต่อกล้ามเนื้อสมอง จึงต้องถูกกำจัดออกจากน้ำมัน DHA สังเคราะห์ ด้วยขบวนการกลั่น, การกรอง, และการแยกชั้น

นมผสมสูตรต่อเนื่อง ระวังให้ดี

แม่ที่เลี้ยงลูกด้วยนมผสม ต้องเผชิญกับความเสี่ยงครั้งใหญ่ทุกครั้งที่ต้องเปลี่ยนสูตรนมผสมตามช่วงอายุ
คำแนะนำ (ซึ่งความจริงควรเป็น “คำเตือน” มากกว่า) ของนมผสมสูตรต่อเนื่อง คือ ไม่ควรเปลี่ยนนมสูตรใหม่ทุกมื้อในทันที ให้ค่อย ๆ เปลี่ยนนมผสมสูตรใหม่ทีละมื้อ เพื่อสังเกตอาการว่าทารกจะมีปัญหากับนมสูตรใหม่หรือไม่
เหตุใดอาหารที่ผู้ผลิตโฆษณาว่า ดีที่สุดเพื่อสุขภาพและความฉลาดของลูกน้อย จึงต้องมีคำเตือนเช่นนี้

สูตรพิเศษ เฉพาะสำหรับลูกคุณ

น้ำนมของแม่แต่ละคนถูกผลิตขึ้นมาอย่างเหมาะสมที่สุดสำหรับลูกของตน ถ้าลูกคลอดก่อนกำหนด น้ำนมที่ร่างกายแม่ผลิตออกมาก็จะเหมาะสมที่สุดกับลูกที่คลอดก่อนกำหนด
ภูมิคุ้มกันโรคในนมแม่ปรับเปลี่ยนไปตามเชื้อโรคที่มีอยู่ในสภาพแวดล้อมของแต่ละคน
ในขณะที่นมผสมแต่ละยี่ห้อนั้น ผลิตขึ้นตามความต้องการของผู้ผลิต เหมือนกันหมดสำหรับทารกทุกคน ซึ่งที่จริงแล้วไม่มีคุณสมบัติที่เหมาะสมสำหรับทารกคนใดเลย

ความต้องการสารอาหารของทารกเปลี่ยนแปลงไปตามวัย น้ำนมแม่ก็ปรับเปลี่ยนองค์ประกอบและสัดส่วนไปตามความต้องการของทารกในแต่ละช่วงอายุโดยอัตโนมัติแม่ที่เลี้ยงลูกด้วยนมแม่ไม่ต้องกังวลเลยว่า เมื่อลูกโตขึ้นจะต้องเปลี่ยนสูตรนม หรือต้องเพิ่มสารอาหารอะไรให้ลูกอีก

สูตรที่เลียนแบบไม่ได้

ข้อมูลที่พ่อแม่ส่วนใหญ่ไม่เคยรับรู้เลยก็คือ ข้อเท็จจริงที่ว่า “นมผงดัดแปลงสำหรับทารก” นั้น มีองค์ประกอบที่ห่างไกลจากนมแม่มาก
นมผสมหรือนมผงดัดแปลงสำหรับทารก ในภาษาอังกฤษใช้คำว่า“Formula” ซึ่งแปลว่า “สูตร” แต่ในความเป็นจริง ไม่มีผู้ผลิตนมผสมรายใดรู้“สูตร” ที่แท้จริงของนมแม่
 
ยิ่งมีการคิดค้นมากขึ้นเท่าไหร่ ผู้ผลิตทั้งหลายก็ยิ่งต้องยอมรับว่า “เป็นไปไม่ได้เลยที่จะผลิตนมผสมให้เลียนแบบนมแม่ได้”
เพราะ “นมแม่” มีส่วนประกอบนับพันชนิด มีทั้งเซลล์มีชีวิตต่าง ๆ ฮอร์โมนหลายชนิด เอนไซม์ที่มีฤทธิ์ทำปฏิกิริยา อิมมูโนโกลบูลิน (ภูมิคุ้มกันโรค) และสารประกอบที่มีโครงสร้างเฉพาะซึ่งไม่สามารถทำเลียนแบบในนมผสมสำหรับทารกได้

การเก็บน้ำนมแม่

สำหรับคุณแม่ที่ต้องทำงาน ก็อย่าพึ่งท้อว่าจะเลี้ยงลูกด้วยนมแม่ไม่ได้นะครับ  คุณแม่สามารถเลี้ยงลูกด้วยนมแม่ได้ครับ เหมือนลูกของผม วันนี้ผม่ เกร็ดความรู้วิธีการเก็บน้ำนมแม่มาฝากครับ เก็บน้ำนมในภาชนะสำหรับใส่อาหารแบบไหนก็ได้  หรือจะใช้ ถุงเก็บน้ำนมแม่ ก็ได้ เขียนวันเวลาที่ได้ปั๊มนมไว้บนภาชนะ  ควรแบ่งปริมาณน้ำนมให้พอดีกับมื้อหนึ่งที่ลูกกิน

อายุของน้ำนมที่เก็บไว้
เนื่องจากประเทศไทยมีอากาศร้อนควรมีการเก็บน้ำนมแม่ที่บีบไว้ ดังนี้
สถานที่เก็บ
อุณหภูมิ
ระยะเวลาเก็บ
ตั้งทิ้งไว้
27-32 C
3-4 ช.ม.
ตั้งทิ้งไว้
16-26 C
4-8 ช.ม.
กระติกใส่น้ำแข็ง
15 C
24 ช.ม.
ตู้เย็นช่องธรรมดา
0-4 C
3-8 วัน
ช่องแช่แข็งตู้เย็นประตูเดียว 
2 สัปดาห์
ช่องแช่แข็งตู้เย็น 2 ประตู
  -4 C
4-6 เดือน
ช่องแช่แข็งเย็นจัด ตู้เย็นชนิดพิเศษ
-19 C
6-12 เดือน
น้ำนมแม่ไม่มีสารกันบูดกันเสียเพราะฉะนั้นการเก็บน้ำนมแม่ต้องทำด้วยความระมัดระวังและปฎิบัติตามแนวทางที่ให้ไว้อย่างเคร่งครัด ซึ่งจะทำให้คุณแม่สามารถให้นมแก่ลูกได้อย่างต่อเนื่อง ก่อให้เกิดประโยชน์สูงสุดแก่ลูก ถึงแม้บางครั้งคุณแม่ไม่สามารถให้นมลูกจากเต้าได้ต่อเนื่องจากความจำเป็นบางประการก็ตาม
แนวทางการเก็บน้ำนมแม่
1.ล้างมือด้วยน้ำสะอาดก่อนบีบน้ำนมจากเต้า
2.บีบนำนมจากเต้าด้วยวิธีที่ถูกต้อง(หัวแม่มืออยู่บนขอบลานหัวนม นิ้วอื่นอยู่ตรงกันข้าม กดเข้าหาลำตัว บีบคลาย บีบคลาย ซ้ำไปซ้ำมา หลาย ๆ นาที กระตุ้นกลไกการไหลของน้ำนมเลื่อนนิ้วไปตำแหน่งอื่นแล้วทำเช่นเดิม)
3.บีบน้ำนมใส่ภาชนะที่เป็นพลาสติกแข็งหรือแก้ว(ที่ต้มฆ่าเชื้อแล้ว 10 นาที)
4.หลังจากบีบน้ำนมใส่ภาชนะแล้วต้องปิดให้แน่นและนำไปแช่น้ำแข็งหรือใส่ตู้เย็น
5.ปริมาณน้ำนมที่เก็บแต่ละขวด ให้เท่ากับปริมาณที่ลูกกินในแต่ละมื้อ ถ้ามีมากก็เก็บแยกไว้หลาย ๆ ขวดเขียนป้ายบอกวันที่ เวลาเก็บ เพื่อนำมาให้ลูกกินได้ตามลำดับ โดยน้ำนมที่บีบเก็บไว้ก่อนก็ให้นำมาให้ลูกกินก่อน
การละลายน้ำนมที่แช่แข็งไว้
-เมื่อจะนำนม ที่แช่แข็ง มาให้ลูก ให้แกว่งภาชนะที่ใส่นมในอ่างน้ำอุ่น (ไม่ควรใช้น้ำร้อนเพราะจะทำลายโปรตีนและเอ็นไซม์ในน้ำนมแม่)
-ห้ามอุ่นนมโดยการตั้งบนเตาไฟหรือใส่ไมโครเวฟ
-น้ำนมแม่ที่นำมาละลายแล้วแต่ยังไม่ได้ใช้ สามารถนำเก็บเข้าตู้เย็นช่องธรรมดา และเก็บไว้ได้นานอีกภายใน 4 ชั่วโมง ห้ามนำไปเก็บแช่แข็งซ้ำ

หลอกผู้บริโภคด้วยงานวิจัย

ยังไม่มีหลักฐานที่ชัดเจนว่า สารสังเคราะห์ที่เลียนแบบสารธรรมชาติในนมแม่จะมีประโยชน์กับทารกจริงหรือไม่
บริษัทผู้ผลิตมักอ้างงานวิจัยเพื่อโฆษณาสรรพคุณของนมผสม แต่การวิจัยส่วนใหญ่มักจะได้ทุนจากบริษัทผลิตนมผสมเอง และไม่มีการรับรองหรือตรวจสอบจากองค์กรวิจัยอิสระที่เชื่อถือได้จริง
สาเหตุที่งานวิจัยของบริษัทนมผสมไม่มีการรับรองจากองค์กรวิจัยอิสระ ก็เพราะบริษัทนมผสมไม่สามารถนำผลิตภัณฑ์เหล่านั้นไปทดลองกับทารกจริง ๆ ได้จำนวนมากพอและเมื่อใดที่ผลทดลองแสดงว่าผลิตภัณฑ์นั้นไม่ปลอดภัย ผลทดลองเหล่านั้นก็มักจะถูกตัดออกจากผลงานวิจัยที่นำมารายงานให้สาธารณชนทราบ
เมื่อเกิดปัญหาจากการบริโภคนมผสมที่จำหน่ายในท้องตลาด บริษัทนมผสมจะแก้ปัญหาด้วยการเปลี่ยนส่วนผสม และนำออกมาวางขายในรูปของนมผสมสูตรใหม่ในราคาที่แพงขึ้น แต่ผู้บริโภคจะไม่มีโอกาสรู้เลยว่า ส่วนผสมใหม่จะก่อให้เกิดปัญหาอีกหรือไม่
เมื่อใดที่มีนมผสมสูตรใหม่ออกวางจำหน่าย ก็เท่ากับว่าบริษัทนมผสมกำลังทดลองผลิตภัณฑ์ใหม่ของตนเอง โดยใช้ผู้บริโภคทั่วไปเป็นหนูทดลองนั่นเอง
---------------------------------------------------------------
“การเปลี่ยนแปลงสูตรนมผสมยังคงเกิดขึ้นอย่างต่อเนื่อง และนับเป็นการทดลองที่ใหญ่ที่สุด ที่ทำโดยตรงกับมนุษย์โดยปราศจากการควบคุม” 
Kathleen Auerbach

ทำไมถึงใช้นมวัว หรือนมถั่วเหลืองแทนนมแม่

การเลือกใช้นมวัว หรือนมถั่วเหลือง เป็นวัตถุติบหลักของนมผสม ไม่ใช่เพราะมันมีคุณสมบัติใกล้เคียงน้ำนมแม่มากที่สุด แต่ เพราะมันเป็นวัตถุดิบที่หาง่ายและราคาถูก ทำให้ผู้ผลิตสามารถทำกำไรได้มาก
ผู้ผลิตนมผสมต้องเติมสารสังเคราะห์ต่าง ๆ ลงไปในนมวัวเหมือนนมแม่ หรือมากกว่านมแม่ แต่สารต่าง ๆ ที่เติมแต่งเข้าไปนั้นเป็น สารสังเคราะห์ทางเคมี ซึ่งไม่มีทางเลียนแบบสารธรรมชาติในนมแม่ได้

Apgar score ทารก

Apgar score (การประเมินสภาพทารกแรกเกิด )
Apgar score หมายถึง การประเมินสภาพทารกแรกเกิด โดยการให้คะแนนแอปการ์
ด้วยการสังเกตสีผิว ชีพจร หรืออัตราการเต้นของหัวใจ ปฏิกิริยาการตอบสนองต่อสิ่งกระตุ้น
การเคลื่อนไหวต่างๆ หรือความตึงตัวของกล้าม เนื้อ และการหายใจ ของทารก โดยกระทำ
ในนาทีแรกของการคลอดและทำาซ้ำอีกในนาทีที่ 5 เมื่อแรกคลอด เพื่อให้การช่วยเหลือ
ได้ถูกต้องเหมาะสม
วัตถุประสงค์ของการประเมินภาวะสุขภาพ
1. เพื่อตรวจหาความผิดปกติหรือความพิการแต่ก าเนิด
ของทารกแรกเกิด
2. เพื่อประเมินพาวะการเจ็บป่ วยของทารกที่เกิดขึ้นตั้งแต่
อยู่ในครรภ์ หรือความผิดปกติที่เกิดขึ้น ระหว่างคลอด
3. เพื่อน าผลการประเมินภาวะสุขภาพของทารกมาเป็ น
แนวทางในการวางแผนการพยาบาล
4. เพื่อเป็ นเกณฑ์ส าหรับเปรียบเทียบหรือติดตามการเจริญ
เติบโตของเด็กต่อไป
การตรวจสภาพของทารกแรกเกิดโดยใช้ Apgar score
เพื่อประเมินดูทารกว่ามีภาวะขาดออกซิเจนหรือไม่ และต้องการความช่วยเหลือมากน้องเพียงใดการรวบรว
ข้อมูลท าในนาทีที่ 1,2 และ 5 หรือในนาทีที่ 1,5 และ 10แล้วให้น ามาให้ระดับคะแนนดังนี้
อัตราการเต้นของหัวใจ (Pulse)
ถ้าไม่มี ให้ 0 คะแนน ถ้ามีน้อยกว่า 100 ครั้ง/นาที ให้ 1 คะแนน ถ้ามีมากกว่า100 ครั้ง/นาที ให้ 2 คะแนน
การหายใจ (Respiratory rate)
ถ้าไม่หายใจให้ 0 คะแนน ถ้าหายใจช้า ไม่สม่ำเสมอ ให้ 1 คะแนน ถ้าร้องเสียงดังดีให้ 2 คะแนน
ความตึงตัวของกล้ามเนื้อ หรือการเคลื่อนไหวของแขนขา (Activity)
ถ้าอ่อนปวกเปี ยกให้ 0 คะแนน ถ้าแขน ขา งอเล็กน้อย ให้ 1 คะแนน ถ้าแข็งแรงเคลื่อนไหวได้ดีให้ 2 คะแนน
ทารกที่ Apgar score
อยู่ในช่วง 4-6 คะแนน แสดงว่าอยู่ในภาวะปาน
กลาง หรือมีภาวะขาดออกซิเจนเล็กน้อย อาจต้อง
ช่วยกระตุ้นการหายใจ การดูดสารคัดหลั่งในปาก
และจมูกด้วยสายยาง และให้ออกซิเจนทาง
หน้ากากช่วยด้วย ทารกที่ Apgar score อยู่
ในช่วง 7-10 คะแนน แสดงว่าอยู่ในภาวะดี ไม่
ขาดออกซิเจนต้องช่วยดูดสารคัดหลั่งในปากและ
จมูกด้วยลูกสูบยางแดง เช็ดตัวให้แห้งแล้วห่อตัว
ให้อบอุ่น

การออกกำลังกายของคุณแม่มือใหม่

คุณแม่ตั้งครรภ์สามารถออกกำลังกายได้แต่ต้องไม่หักโหม เช่น การเดินการเล่นโยคะสำหรับผู้ตั้งครรภ์ หรือการทำกายบริหารท่าต่าง ๆ ที่เหมาะสม
ซึ่งจะช่วยบรรเทาอาการไม่สุขสบายที่เกิดขึ้นในระหว่างตั้งครรภ์ เช่น อาการปวดหลังได้ ทั้งนี้ ในการออกกำลังกายของคุณแม่ควรเป็นท่าที่ไม่กระทบกระเทือนต่อหน้าท้อง และต้องหยุดออกกำลังกายทันทีหากรู้สึกเหนื่อยเกินไป สำหรับท่าออกกำลังกายต่าง ๆ จะมาเขียนครั้งต่อไปนะครับ

เรื่องของอารมณ์ของคุณแม่

ว่าที่คุณแม่ทุกคนควรทำอารมณ์ให้แจ่มใส ไม่เครียด เพราะเมื่อไดที่รู้สึกเครียดหรือหงุดหงิดแล้วร่างกายจะหลั่งฮอร์โมนบางตัวออกมาซึ่งจะทำให้ลูกในท้องมีการเคลื่อนไหวเพิ่มขึ้น ส่งผลให้ทารกมีน้ำหนักตัวน้อย และอาจเกิดอาการแท้ง หรือคลอดก่อนกำหนดได้

อาหารการเริ่มต้นที่ดีเพื่อลูกน้อย

เมื่อรู้ตัวว่าตั้งครรภ์ คุณแม่ควรรับประทานอาหารเพิ่มขึ้นทั้งประมาณและคุณภาพซึ่งอาหารที่รับประทานนั้นต้องครบถ้วยทั้ง 5 หมู่ ได้แก่
1.โปรตีน เนื้อสัตว์ ไข่ นม ถั่ว โปรตีน ถือว่าเป็นธาตุอาหารที่สำคัญที่สุดในร่างกาย ช่วยให้ร่างกายเจริญเติบโต ซ่อมแซมส่วนที่สึกหรอ โปรตีน เป็นสารอินทรีย์ ซึ่งเป็นโพลิเมอร์ของ สายยาวของกรดอะมิโน (amino acid) ในแง่โภชนาการ โปรตีนเป็นสารอาหาร ที่ให้พลังงาน โปรตีน 1 กรัมให้พลังงาน 4 แคลอรี (calorie) โปรตีนเป็นส่วนประกอบของร่างกาย ที่มีปริมาณมากเป็นอันดับสองรองจากน้ำ โดยเป็นส่วนประกอบพื้นฐานของเซลสิ่งมีชีวิต เช่น เอนไซม์ (enzyme) ฮอร์โมน ซึ่งจำเป็นต่อการทำงาน และการดำรงชีวิต มีความสำคัญต่อการเจริญเติบโตและการเสริมสร้างเนื้อเยื่อส่วนที่สึกหรอของสัตว์

ประโยชน์ของโปรตีน : ช่วนในการเจริญเติบโต ซ่อมแซมส่วนที่สึกหรอ สร้างกระดูก กล้ามเนื้อ น้ำย่อย ฮอร์โมน
- ประโยชน์ต่อเซลล์ผิว มีหน้าที่สร้างใยคลอลาเจนใต้ชั้นผิวหนังในร่างกาย ช่วยให้ผิวมีความยืดหยุ่น และช่วยเชื่อมประสานแต่ละเซลล์ให้ยืดติดกันเป็นเนื้อเดียว ทั้งช่วยปกป้องริ้วรอยก่อนวัยได้ และยังช่วยเพิ่มความแข็งแรงของเซลล์ผมและเล็บของเราอีกด้วย
- ประโยชน์ต่อระบบกล้ามเนื้อ กล้ามเนื้อทุกมัดมีโครงสร้างพื้นฐานจากกรดอะมิโนหลากหลายชนิดเรียงร้อยกันเป็นมัดกล้าม ดังนั้นโปรตีนคุณภาพจึงมีความสำคัญในการสร้ามเนื้อให้แข็งแรง
- ประโยชน์ต่อการฟื้นตัวของร่างกายและระบบภูมิต้านทาน โปรตีนคุณภาพมีส่วนช่วยในการทดแทนเซลล์ที่สูญเสียไปในแต่ละวัน ช่วยลดกลไกการแข็งตัวของเลือด รวมทั้งเป็นส่วนประกอบหลักของภูมิคุ้มกันในร่างกายด้วย
- ประโยชน์ต่อระบบย่อยอาหาร เนื่องจากอาหารที่เราทานเข้าไป ต้องใช้เอนไซม์หลายชนิด รวมถึงสารคัดหลั่งจากกระเพาะอาหาร ตับอ่อน และลำไส้เล็ก เพื่อช่วยแปรเปลี่ยนอาหารให้มีหน่วยเล็กลงและสามารถดูดซึมได้ง่าย หากร่างกายได้รับโปรตีนคุณภาพซึ่งเป็นส่วนประกอบของเอนไซม์ในปริมาณที่เพียงพอ ก็จะช่วยให้อาหารต่างๆ ถูกย่อยและดูดซึมเข้าสู่ร่างกายได้อย่างมีประสิทธิภาพ
อาหารหลัก 5 หมู่ โปรตีน
ตัวอย่างอาหารที่ให้โปรตีน
พืชสังเคราะห์โปรตีนได้จากไนโตรเจน ส่วนคนและสัตว์ชั้นสูงอาศัยกรดอะมิโนที่ได้รับจากอาหาร แหล่งอาหารโปรตีนที่สำคัญของมนุษย์และสัตว์ ได้แก่ เนื้อสัตว์ (meat) นม (milk) ไข่ (egg) ถั่ว (legume) เช่น ถั่วเหลือง เมล็ดธัญพืช (cereal grain) นอกจากนี้ จุลินทรีย์ เช่น ยีสต์ สาหร่าย เห็ดหนอน แมลงที่กินได้ก็เป็นแหล่งของโปรตีนที่ดี
2.คาร์โบไฮเดรต ข้าว แป้ง น้ำตาล เผือก มัน คาร์โบไฮเดรต (carbohydrate) คือ สารประกอบอินทรีย์ เป็นสารอาหารที่เป็นแหล่งพลังงานที่สำคัญของมนุษย์ คาร์โบไฮเดรต 1 กรัม ให้พลังงานเท่ากับ 4 แคลอรี (calorie)
อาหารหลัก 5 หมู่ คาร์โบไฮเดรต
ประโยชน์ของคาร์โบไฮเดรต
- ให้พลังงานและความร้อน ( 1 กรัม ให้พลังงาน 4 แคลอรี่ )
- ช่วยสงวนโปรตีนให้ร่างกายนำไปใช้ในทางที่เป็นประโยชน์มากที่สุด
- คาร์โบไฮเดรตที่เหลือใช้ เปลี่ยนเป็นไขมันสะสมในร่างกายได้
ตัวอย่างอาหารที่ให้คาร์โบไฮเดรต
ได้แก่ เมล็ดธัญพืชแป้ง สตาร์ซ น้ำตาลข้าว ขนมปัง ข้าว
3.เกลือแร่หรือแร่ธาตุ เป็นสารอาหารอีกประเภทหนึ่งที่ร่างกายต้องการและขาดไม่ได้เพราะแร่ธาตุบางชนิดเป็นส่วนประกอบของอวัยวะและกล้ามเนื้อบางอย่าง เช่น กระดูก ฟัน เลือด บางชนิดเป็นส่วนของสารต่าง ๆ ที่เกี่ยวกับการเจริญเติบโตในร่างกาย เช่น ฮอร์โมน เฮโมโกลบิน เอนไซม์ เป็นต้น นอกจากนี้แร่ธาตุยังช่วยในการควบคุมการทำงานของอวัยวะต่าง ๆ ของร่างกายให้ทำหน้าที่ปกติ เช่น ควบคุมการทำงานของกล้ามเนื้อและระบบประสาท การแข็งตัวของเลือด และช่วยควบคุมสมดุลของน้ำในการไหลเวียนของของเหลวในร่างกาย
อาหารหลัก 5 หมู่ เกลือแร่
ประโยชน์ของแร่ธาตุ
ช่วยในเรื่อง ความแข็งแรงของกล้ามเนื้อ ฟัน ช่วยทำให้ผิวพรรณสดใส ช่วยให้ระบบการย่อย และการขับถ่ายเป็นปกติ
ตัวอย่างอาหารที่ให้แร่ธาตุ
พืช ผัก ชนิดต่างๆ
4.วิตามิน เป็นสารอาหารที่ร่างกายของเราต้องการในปริมาณน้อย แต่ก็ไม่สามารถขาดได้ ถ้าขาดจะทำให้ระบบร่างกายของเราผิดปกติ หรือเกิดโรคต่างๆได้ วิตามินแบ่งออกเป็น 2 พวก ได้แก่
- วิตามินที่ละลายในน้ำ ได้แก่ วิตามินซี และวิตามินบีรวม
- วิตามินที่ละลายในไขมัน ได้แก่ วิตามิน เอ ดี อี เค
อาหารหลัก 5 หมู่ วิตามิน
ประโยชน์ของวิตามิน
บำรุงสุขภาพของผิวหนังให้สดชื่น บำรุงสุขภาพปาก เหงือก และฟัน ช่วยให้ระบบการย่อยและการขับถ่ายเป็นปกติ
ตัวอย่างอาหารที่ให้วิตามิน
ผลไม้ชนิดต่างๆ
5.ไขมัน ที่ให้พลังงานที่มีส่วนประกอบหลักคือที่ไตรกลีเซอไรด์ (triglyceride) ไขมัน 1 กรัมให้พลังงาน 9แคลอรี (calorie) ขณะที่โปรตีน และคาร์โบไฮเดรท ให้พลังงาน 4 แคลอรี
ประโยชน์ของไขมัน
พลังงานและให้ความอบอุ่นแก่ร่างกาย ช่วยในเรื่องการดูดซึมของวิตามินที่ละลายในไขมัน ได้แก่ วิตามินเอ วิตามินอี วิตามินดี และวิตามินเค นอกจากนี้ไขมันยังช่วยในการป้องกันการกระทบ กระเทือนของอวัยวะภายในอีกด้วย
อาหารหลัก 5 หมู่ ไขมัน
ตัวอย่างอาหารที่ให้ไขมัน
- ไขมันเป็นอาหารสำคัญที่มีความจำเป็นต่อร่างกายและเป็น 1 ในอาหาร 5 หมู่ ที่มีประโยชน์ นอกเหนือจากโปรตีน คาร์โบไฮเดรท วิตามินและเกลือแร่
- ไขมันช่วยในการดูดซึมของวิตามินที่ละลายในไขมัน (Fat soluble Vitamins) เช่น วิตามินเอ วิตามินดี วิตามินอี และวิตามินเค ซึ่งมีประโยชน์ต่อร่างกาย
- ไขมันให้พลังงานแก่ร่างกายที่สูงที่สุดคือ 9 แคลอรี่ต่อ 1 กรัมของไขมัน ช่วยทำให้ร่างกายมีพลังงานที่จะทำงานและประกอบกิจวัตรประจำวัยได้ตามปกติ
- ไขมันช่วยปกป้องและกันความร้อน รวมทั้งคอยควบคุมอุณหภูมิของร่างกายให้คงที่ โดยทำหน้าที่เป็นฉนวนกันความร้อน (Thermal Insulator) ของเนื้อเยื่อใต้ผิวหนังและอวัยวะที่อยู่ภายในร่างกาย
- ไขมันช่วยเป็นเสมือนกันชนให้ร่างกาย คือช่วยป้องกันการกระเทือนของอวัยวะภายในร่างกาย ที่เกิดจากแรงกระแทกหรือการเคลื่อนไหวอย่างแรงของร่างกาย ซึ่งคอยป้องกันการบาดเจ็บของอวัยวะภายในร่างกาย
- ไขมันเป็นส่วนประกอบสำคัญของเนื้อเยื่อประสาทนั่นคือ เส้นประสาทของคนเราจะมีไขมันเป็นส่วนประกอบในอัตราที่สูง โดยเฉพาะจะหุ้มเส้นประสาท ช่วยในการป้องกันเส้นประสาทให้ทำงานได้อย่างมีประสิทธิภาพ เมื่อถูกสั่งจากสมองไปยังกล้ามเนื้อและอวัยวะต่างๆ ของร่างกาย
- ไขมันเมื่อรวมกับโปรตีนก็คือ ไลโปโปรตีน (Lipoproteins) จะเป็นส่วนประกอบสำคัญของเซลล์ต่างๆ โดยเฉพาะผนังเซลล์และไมโตคอนเดรีย ส่วนนี้มีประโยชน์สำหรับคนเรามาก เพราะร่างกายของเราประกอบเป็นตัวตนด้วยเซลล์หลายๆ ล้านเซลล์ และเซลล์ของร่างกายเรา จะผลิตทุกวันเพื่อซ่อมแซมส่วนที่สึกหรอ นั่นคือ ถ้าขาดไขมัน ผนังเซลล์ของร่างกายเราก็จะอ่อนแอ เซลล์ที่ตายไปก็ไม่สามารถสร้างขึ้นมาใหม่ได้

ผลกำไรบนความเสี่ยงของทารก

นมผสม เป็นเพียง สารอาหารทดแทนนมแม่  ในสถานการณ์ที่จำเป็นด้านการแพทย์ การใช้นมผสมสามารถช่วยชีวิตเด็กได้ แต่ในทางกลับกัน การให้ทารกกินนมผสมแทนนมแม่ในกรณีที่ไม่จำเป็น ถือเป็น ความเสี่ยง ต่อสุขภาพของทารกอย่างแท้จริง  การจะให้ผู้คนยอมรับนมผสมซึ่งมีคุณสมบัติด้อยกว่านมแม่มากได้นั้น ผู้ผลิตต้องเปลี่ยนมุมมองการเลี้ยงดูเด็กเสียใหม่ โดยสร้างภาพความทันสมัยและความเหนือกว่าในแง่วิทยศาสตร์ให้เกิดในใจของผู้ให้บริการสาธารณสุขและพ่อแม่  บริษัทนมผสมใช้ช่องทางของระบบสาธารณสุขเป็นการเปิดตลาด ให้บุคลากรสาธรณสุขเป็นผู้แจกตัวอย่างฟรี เพื่อจูงใจให้แม่เลี้ยงลูกด้วยนมผสม  หลังคลอดบุตร แม่และทารกจะกลับบ้านไปพร้อมนมผสม แจกฟรี จำนวนหนึ่ง เมื่อนมผสมที่ได้รับแจกฟรีหมดลง ทารกก็ไม่ยอมดูดนมจากอกแม่แล้ว และต่อมน้ำนมขอแม่ก็เริ่มแห้งไปอีกด้วย ทำให้แม่ต้องกลับไปซื้อนมผสมเพื่อเลี้ยงทารกต่อไป  การให้ทารกกินนมแม่ถูกเปลี่ยนจากพฤติกรรมปกติธรรมดาเป็นขบวนการที่ยุ่งยากลำบากและล้าสมัย  ยอดขายนมผสมเติมโตอย่างรวดเร็ว พร้อม ๆ กับอัตราการเจ็บป่วยและเสียชีวิตของทารกที่เพิ่มสูงขึ้น  ตั้งแต่ ค.ศ. 1960 เป็นต้นมา อัตราการเลี้ยงลูดด้วยนมแม่ลดต่ำลงอย่างรวดเร็วในหลาย ๆ ส่วนของโลก    ค.ศ. 1979 มีนมผสม ออกจำหน่ายถึง 50 ยี่ห้อ 200 ชนิดกระจายอยู่ในประเทศต่าง ๆ กว่า 100 ประเทศทั่วโลก  ค.ศ. 1994 องค์การอนามัยดลก รายงานว่าทุก ๆ ปี ทารก ประมาณ 1.5 ล้านคน เสียชีวิตเพราะไม่ได้กินนมแม่ ขณะที่อีกหลายล้านเป็นโรคขาดอาหารและโรคอื่น ๆ
*ทั้งในประเทศร่ำรวยและยากจน ทุก ๆ วันจะมีทารกต้องเข้ารับการรักษาตัวในโรงพยาบาลหลายพันคน เนื่องจากได้รับอาหารหรือของเหลวอื่นที่ไม่ใช่นมแม่ แผนกกุมารเวชกรรมไม่ได้เต็มไปด้วยทารกที่ได้กินแต่นมแม่ล้วน ๆ เลย

ทำไมถึงมีนมผสม

แม่ทุกคนมีน้ำนมตามธรรมชาติเพียงพอสำหรับลูกของตัวเองแล้วทำไม บริษัทนมผสมจึงพยายามสร้างสารทดแทนนมแม่ขึ้นมาทั้งที่ไม่จำเป็น เพราะผู้ผลิตนมผสมเล็งเห็นว่า หากสร้างความต้องการและการถึ่งพิงสารทดแทนนมแม่ได้ จะสามารถทำกำไรได้อย่างมหาศาลนั่นเอง  ตั้งแต่ดั้งเดิมทารกกินนมแม่ซึ่งมีทั้งสารอาหารและภูมิคุ้มกันครบถ้วน การให้นมแม่เป็นวิธีธรรชาติปกติในการเลี้ยงทารก
มีบางกรณีที่พบได้น้อยมากเท่านั้นที่ผู้หญิงไม่สามารถให้นมแม่แก่ลูกได้หรือทากถูกทอดทิ้ง จึงมีการคิดค้นนมผสมขึ้นเป็นครั้งแรกในปี ค.ศ.1867 เพื่อใช้ในสถานการณ์ที่พบน้อยมาก ๆ เหล้านี้  แต่เมื่อเวลาผ่านไปบริษัทนมผสมไม่พอใจเพียงแค่ตลาดกลุ่มเล็ก ๆ เท่านั้น จึงเริ่มส่งเสริมให้มีการใช้ผลิตภัณฑ์มากขึ้น โดยอ้างว่าเป็นนมที่  ทดแทนนมแม่ได้อย่างปลอดภัยและเชื่อถือได้ การโหมโฆษณาอย่างต่อเนื่อง เพื่อทำให้คนเชื่อว่า นมผสม เป็นความก้าวหน้าทางวิทยาศาสตร์ ทันสมัย และสะดวกกว่านมแม่จึงทำให้เกิด ความต้องการผลิตภัณฑ์ที่จริง ๆ แล้วแทบจะไม่มีความจำเป็นต้องใช้เลย

ของปลอมก็คือของปลอม

ผู้ผลิตนมผสมใช้เวลามากกว่าศตวรรษในการพยามยามวิเคราะห์แยกแยะส่วนประกอบแต่ละชนิดของนมแม่ และนำสารสังเคราะห์มาประกอบเป็น นมทดแทน บริษัทผู้ผลิตนมผสมอ้างว่า นมผสมมีสารอาหารหลากหลายใกล้เคียงกับนมแม่ รวมทั้งทุ่มโฆษณาเพื่อสร้างภาพความคล้ายคลึงหรือเหนือกว่านมแม่  แต่การผลิตนมผสมที่มีคุณสมบัติเหมือนน้ำนมแม่เป็นสิ่งที่เป็นไปไม่ได้ เพราะกระทั่งทุกวันนี้ก็ยังไม่มีใครรู้ ส่วนประกอบทั้งหมดของน้ำนมแม่ ในบรรดาส่วนประกอบของนมแม่ที่นักวิทยาศาสตร์สามารถวิเคราะห์ได้แล้ว นมแม่ก็ยังมีส่วนประกอบอีกมากกว่า 100 ชนิดที่นมผสมไม่มี