การเก็บน้ำนมแม่

สำหรับคุณแม่ที่ต้องทำงาน ก็อย่าพึ่งท้อว่าจะเลี้ยงลูกด้วยนมแม่ไม่ได้นะครับ  คุณแม่สามารถเลี้ยงลูกด้วยนมแม่ได้ครับ เหมือนลูกของผม วันนี้ผม่ เกร็ดความรู้วิธีการเก็บน้ำนมแม่มาฝากครับ เก็บน้ำนมในภาชนะสำหรับใส่อาหารแบบไหนก็ได้  หรือจะใช้ ถุงเก็บน้ำนมแม่ ก็ได้ เขียนวันเวลาที่ได้ปั๊มนมไว้บนภาชนะ  ควรแบ่งปริมาณน้ำนมให้พอดีกับมื้อหนึ่งที่ลูกกิน

อายุของน้ำนมที่เก็บไว้
เนื่องจากประเทศไทยมีอากาศร้อนควรมีการเก็บน้ำนมแม่ที่บีบไว้ ดังนี้
สถานที่เก็บ
อุณหภูมิ
ระยะเวลาเก็บ
ตั้งทิ้งไว้
27-32 C
3-4 ช.ม.
ตั้งทิ้งไว้
16-26 C
4-8 ช.ม.
กระติกใส่น้ำแข็ง
15 C
24 ช.ม.
ตู้เย็นช่องธรรมดา
0-4 C
3-8 วัน
ช่องแช่แข็งตู้เย็นประตูเดียว 
2 สัปดาห์
ช่องแช่แข็งตู้เย็น 2 ประตู
  -4 C
4-6 เดือน
ช่องแช่แข็งเย็นจัด ตู้เย็นชนิดพิเศษ
-19 C
6-12 เดือน
น้ำนมแม่ไม่มีสารกันบูดกันเสียเพราะฉะนั้นการเก็บน้ำนมแม่ต้องทำด้วยความระมัดระวังและปฎิบัติตามแนวทางที่ให้ไว้อย่างเคร่งครัด ซึ่งจะทำให้คุณแม่สามารถให้นมแก่ลูกได้อย่างต่อเนื่อง ก่อให้เกิดประโยชน์สูงสุดแก่ลูก ถึงแม้บางครั้งคุณแม่ไม่สามารถให้นมลูกจากเต้าได้ต่อเนื่องจากความจำเป็นบางประการก็ตาม
แนวทางการเก็บน้ำนมแม่
1.ล้างมือด้วยน้ำสะอาดก่อนบีบน้ำนมจากเต้า
2.บีบนำนมจากเต้าด้วยวิธีที่ถูกต้อง(หัวแม่มืออยู่บนขอบลานหัวนม นิ้วอื่นอยู่ตรงกันข้าม กดเข้าหาลำตัว บีบคลาย บีบคลาย ซ้ำไปซ้ำมา หลาย ๆ นาที กระตุ้นกลไกการไหลของน้ำนมเลื่อนนิ้วไปตำแหน่งอื่นแล้วทำเช่นเดิม)
3.บีบน้ำนมใส่ภาชนะที่เป็นพลาสติกแข็งหรือแก้ว(ที่ต้มฆ่าเชื้อแล้ว 10 นาที)
4.หลังจากบีบน้ำนมใส่ภาชนะแล้วต้องปิดให้แน่นและนำไปแช่น้ำแข็งหรือใส่ตู้เย็น
5.ปริมาณน้ำนมที่เก็บแต่ละขวด ให้เท่ากับปริมาณที่ลูกกินในแต่ละมื้อ ถ้ามีมากก็เก็บแยกไว้หลาย ๆ ขวดเขียนป้ายบอกวันที่ เวลาเก็บ เพื่อนำมาให้ลูกกินได้ตามลำดับ โดยน้ำนมที่บีบเก็บไว้ก่อนก็ให้นำมาให้ลูกกินก่อน
การละลายน้ำนมที่แช่แข็งไว้
-เมื่อจะนำนม ที่แช่แข็ง มาให้ลูก ให้แกว่งภาชนะที่ใส่นมในอ่างน้ำอุ่น (ไม่ควรใช้น้ำร้อนเพราะจะทำลายโปรตีนและเอ็นไซม์ในน้ำนมแม่)
-ห้ามอุ่นนมโดยการตั้งบนเตาไฟหรือใส่ไมโครเวฟ
-น้ำนมแม่ที่นำมาละลายแล้วแต่ยังไม่ได้ใช้ สามารถนำเก็บเข้าตู้เย็นช่องธรรมดา และเก็บไว้ได้นานอีกภายใน 4 ชั่วโมง ห้ามนำไปเก็บแช่แข็งซ้ำ

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น